เพื่อความสุขสนุกสนาม กับการชมบล็อก

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

นิติราษฎร์เสนอแก้กฎหมายหมิ่นฯสถาบันกษัตริย์ ยกเลิกมาตรา 112

วันที่ 27 มีนาคม 2554 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบไปด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ธีระ สุธีวรางกูร, ปิยบุตร แสงกนกกุล และ สาวตรี สุขศรี ได้จัดงานเสวนาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
โดยงานเสวนาได้เริ่มขึ้นจากการอภิปรายจากวิทยากรแต่ละท่าน ตามด้วยข้อเสนอการแก้กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ และการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนา
สำหรับรายละเอียดจากวิทยากรแต่ละท่านมีดังต่อไปนี้
สาวตรี สุขศรี ได้บรรยายข้อมูลเกี่ยวกับการหมิ่นฯสถาบันกษัตริย์ ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีเนื้อความว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี


ในขณะที่ความผิดเรื่องดูหมิ่น ถือเป็นการแสดงความเห็นโดยไม่มีข้อเท็จจริงประกอบ จะเป็นความผิดตามประมวลมาตรา 326 และในตอนท้ายสาวตรี ได้กล่าวถึงสถิติคดีหมิ่นฯสถาบันกษัตริย์ ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของ David Strakefuss ว่าในปี พ.ศ. 2548-2552 มีคดี 547 เฉลี่ยปีละ 109 คดี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงปี พ.ศ. 2535 – 2547 ที่มีคดีเฉลี่ยปีละ 0.8 คดีต่อปี เป็น 13,000 เปอร์เซ็นต์ หรือ 131 เท่า
ในขณะที่วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้กล่าวถึงพัฒนาการของกฎหมายหมิ่นฯสถาบันกษัตริย์ จากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงปัจจุบัน และได้ให้ความเห็นว่าปัญหาของกฎหมายหมิ่นฯ มีทั้งปัญหาในระดับตัวบท และระดับบริบทซึ่งจะถูกนำมากำกับในการใช้ในการตีความ ซึ่งอาจจะเป็นไปอย่างรุนแรงได้
ส่วนปิยบุตร แสงกนกกุล ได้ยกคำกล่าวของ โรเบสปิแอร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre แกนนำของจาโคแบงในการปฏิวัติฝรั่งเศส) ว่า “การขัดขวางมิให้ประชาชนได้ก่อตั้งทางเลือกของพวกเขาเอง ถือเป็นอาชญากรรมฐานหมิ่นมนุษยชาติ” และได้นำเสนอเรื่อง อุดมการณ์และการชี้นำ agent ในระบบกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด รวมถึงความหมายของ “กฎหมาย” และการยกตัวอย่างเปรียบเทียบจากประเทศต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น