ออง ซาน ซูจี (พม่า: ) เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านในประเทศพม่า เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 บิดาคือ นายพลออง ซาน ผู้นำการเรียกร้องเอกราชของพม่า ซึ่งถูกสังหารเสียชีวิตเมื่อเธอมีอายุเพียง 2 ขวบ ซูจีได้สมรสกับ ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล อริส อาจารย์สอนวิชาทิเบตศึกษา ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร มีบุตรชายสองคน คือ อเล็กซานเดอร์ และคิม ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร.ไมเคิล อริสได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2542 โดยรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของพม่า ได้กำหนดไว้ว่าชาวพม่าที่สมรสกับคนต่างชาติ จะไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ออง ซาน ซูจี จึงหมดสิทธิ์ลงสมัคร[9]
ออง ซาน ซูจีถูกสั่งกักบริเวณในบ้านพักตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[10]
ชีวิตช่วงแรกออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ ย่างกุ้ง พม่าของอังกฤษ (British Burma)[11] บิดาของเธอ นายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า” ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เมื่อเธอได้อายุได้ 2 ปี บทบาทของนายพลอองซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491
ชีวิตช่วงแรกออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ ย่างกุ้ง พม่าของอังกฤษ (British Burma)[11] บิดาของเธอ นายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า” ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เมื่อเธอได้อายุได้ 2 ปี บทบาทของนายพลอองซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491
ดอว์ขิ่นจี ผู้เป็นภรรยาของนายพลอองซาน ต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรชายหญิง 3 คนโดยลำพังหลังจากสามีถูกลอบสังหาร ซูจีเป็นลูกคนเล็ก และเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัว ภายหลังบิดาเสียชีวิตไม่นาน พี่ชายคนรองของเธอประสบอุบัติเหตุ จมน้ำตายในบริเวณบ้านพัก ซูจีและพี่ชายคนโตคือ อองซาน อู เติบโตมากับการเลี้ยงดูของมารดา ที่เข้มแข็ง และความเอื้อเอ็นดูของกัลยาณมิตรร่วมอุดมการณ์ของบิดา
พ.ศ. 2503 ดอว์ขิ่นจี ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่า ประจำประเทศอินเดีย ซูจีถูกส่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมและวิทยาลัยสตรีศรีราม ที่นิวเดลี จากนั้นไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การเมือง และปรัชญาที่เซนต์ฮิวส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ระหว่างปี พ.ศ. 2507-2510 ช่วงที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีได้พบรักกับ ไมเคิล อริส นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต
ปีเดียวกันกับที่ซูจีจบการศึกษา ดอว์ขิ่นจี หมดวาระในตำแหน่งทูตประจำประเทศอินเดีย และย้ายกลับไปพำนัก ที่ย่างกุ้ง ซูจี แยกจากมารดาเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์ก เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้ คณะกรรมการที่ปรึกษา ด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณ และการจัดการของสำนักงานเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ ขณะนั้น อูถั่น ซึ่งเป็นชาวพม่า ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของ องค์การสหประชาชาติ ในการทำงาน 3 ปีที่นี่ซูจีใช้เวลาช่วงเย็น และวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นอาสาสมัครให้โรงพยาบาล ในโครงการช่วยอ่านหนังสือ และดูแลปลอบใจผู้ป่วยยากจน
เดือนมกราคม พ.ศ. 2515 ซูจีแต่งงานกับ ไมเคิล อริส และย้ายไปอยู่กับสามี ที่ราชอาณาจักรภูฏาน ซูจีได้งาน เป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฏาน ขณะที่ไมเคิลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า กรมการแปล รวมทั้งมีหน้าที่ถวายการสอน แก่สมาชิกราชวงศ์แห่งภูฏาน ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2516-2520 ทั้งสองย้ายกลับมาที่กรุงลอนดอน ไมเคิลได้งานสอน วิชาหิมาลัย และทิเบตศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีให้กำเนิดบุตรชายคนแรก อเล็กซานเดอร์ ในปี พ.ศ. 2516 และบุตรชายคนเล็ก คิม ในปี พ.ศ. 2520 นอกจากใช้เวลากับการเลี้ยงดูบุตรชายทั้งสองแล้ว ซูจีเริ่มทำงานเขียน และงานวิจัยเกี่ยวกับชีวประวัติของบิดาและยังช่วยงานหิมาลัยศึกษาของ ไมเคิลด้วย
พ.ศ. 2528-2529 ซูจี และไมเคิลตัดสินใจแยกจากกัน ระยะหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าทางวิชาการ ซูจีได้รับทุนทำวิจัยจาก ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ในการทำวิจัย เกี่ยวกับบทบาทของนายพลอองซาน ขณะที่ไมเคิลได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies ที่ซิมลา (Simla) ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ซูจีพาคิม บุตรชายคนเล็กไปญี่ปุ่นด้วย ส่วนไมเคิลได้พาอเล็กซานเดอร์ บุตรชายคนโตไปอยู่ด้วยที่อินเดีย ปีต่อมาซูจีได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies จึงพาคิมมาสมทบที่ซิมลา ประเทศอินเดีย ต่อมาซูจีที่อยู่ที่ญี่ปุ่นต้องบินไปดูแลมารดาที่เดินทางมารับการผ่าตัดต้อกระจกตา ที่ลอนดอน
พ.ศ. 2530 ซูจีและไมเคิลย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ซูจีเข้าศึกษาต่อที่ London School of Oriental and African Studies ที่กรุงลอนดอน เธอกำลังทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกเกี่ยวกับวรรณคดีพม่า
[แก้] กลับบ้านเกิดเพื่อสานอุดมการณ์และความฝันของบิดา
นางอองซาน ซูจีขณะกล่าวสุนทรพจน์แก่ชาวพม่าปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้าน เกิดที่ย่างกุ้ง เพื่อมาพยาบาล ดอว์ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก ในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในพม่ากดดันให้นายพลเนวินต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครอง ประเทศพม่ามานานถึง 26 ปี เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่ม ทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้อง ประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพลอองซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉัน ต้องเข้าร่วมด้วย” [12]
นางอองซาน ซูจีขณะกล่าวสุนทรพจน์แก่ชาวพม่าปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้าน เกิดที่ย่างกุ้ง เพื่อมาพยาบาล ดอว์ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก ในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในพม่ากดดันให้นายพลเนวินต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครอง ประเทศพม่ามานานถึง 26 ปี เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่ม ทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้อง ประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพลอองซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉัน ต้องเข้าร่วมด้วย” [12]
ประชาชนไม่พอใจต่อระบอบเนวิน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ นั้นสะสมต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรมูลค่า 25 จัต 35 จัต และ 75 จัต โดยไม่ยอมให้มีการแลกคืน ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2530 ซึ่งทำให้เงินร้อยละ 75 หายไปจากตลาดเงิน นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งประท้วงด้วยการทำลายร้านค้าหลายแห่ง จนมีเหตุการณ์รุนแรงครั้งสำคัญปะทุขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 หลังเกิดเหตุทะเลาะ วิวาทระหว่างนักศึกษาในร้านน้ำชา และตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุ กลุ่มนักศึกษาได้รวมตัวกันประท้วง ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา แต่ตำรวจกลับใช้ความรุนแรง ตอบโต้ด้วยการยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งยังจับกุม นักศึกษานับพันคนไปจากการชุมนุม ก่อให้เกิดความไม่พอใจ ในหมู่นักศึกษาประชาชน และขยายไปทั่วประเทศ มีการประท้วงในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก จนเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่กดดันให้นายพลเนวินต้องประกาศลาออก
การลาออกของนายพลเนวินใน วันที่ 23 กรกฎาคม ตามมาด้วยการชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตย ของนักศึกษา และประชาชนหลายแสนคนในเมืองหลวงย่างกุ้ง และแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ประชาชนนับล้านรวมตัวกันในเมืองร่างกุ้ง อันเป็นเมืองหลวงของประเทศพม่า เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การประท้วงแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ผู้นำทหารได้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุม ทำให้ผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต
ออง ซาน ซูจี เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล เรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 26 สิงหาคม ออง ซาน ซูจี ในขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรก ต่อหน้าฝูงชนประมาณ 500,000 คน ที่มาชุมนุมกันที่เจดีย์ชเวดากอง ในย่างกุ้ง ซูจีเรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารกลับจัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (The State Law and Order Restoration Council : SLORC) ขึ้นแทน และได้ทำการปราบปรามสังหาร และจับกุมผู้ต่อต้านอีกหลายร้อยคนวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 ออง ซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยขึ้น (National League for Democracy: NLD) และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชีวิตทางการเมืองของนางออง ซาน ซูจี เริ่มต้น นับแต่นั้น
มารดาของซูจี ดอว์ขิ่นจี ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531 แต่ภารกิจต่อแผ่นดิน เกิดเรียกร้องให้ซูจีเลือกที่จะต่อสู้กับระบอบเผด็จการทหารอยู่บนแผ่นดินเหนือลุ่มน้ำอิรวดี-สาละวิน
[แก้] เกียรติยศ และการจองจำ
อเล็กซานเดอร์ อาริสและคิมบิน อาริส บุตรทั้ง 2 ของอองซานซูจีในวันรับรางวัลโนเบลรัฐบาลเผด็จการใช้อำนาจเผด็จการภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็น ครั้งแรก เวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาขยายเป็น 6 ปีโดยไม่มีข้อหา และได้จับกุม สมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่ คุกอินเส่ง ซูจีอดอาหารเพื่อประท้วง และเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ เวลานั้นอเล็กซานเดอร์ และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลจากอังกฤษมาที่ย่างกุ้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่า จะปฏิบัติอย่างดีต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
อเล็กซานเดอร์ อาริสและคิมบิน อาริส บุตรทั้ง 2 ของอองซานซูจีในวันรับรางวัลโนเบลรัฐบาลเผด็จการใช้อำนาจเผด็จการภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็น ครั้งแรก เวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาขยายเป็น 6 ปีโดยไม่มีข้อหา และได้จับกุม สมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่ คุกอินเส่ง ซูจีอดอาหารเพื่อประท้วง และเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ เวลานั้นอเล็กซานเดอร์ และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลจากอังกฤษมาที่ย่างกุ้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่า จะปฏิบัติอย่างดีต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 แม้ว่าซูจียังคงถูกกักบริเวณอยู่ แต่พรรคเอ็นแอลดี ของเธอได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลเผด็จการทหารในนามของ “สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ” ปฏิเสธที่จะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ผู้ชนะ แต่ยื่นข้อเสนอ ให้ซูจียุติบทบาททางการเมือง ด้วยการเดินทางออกนอกประเทศ ไปใช้ชีวิตครอบครัวกับสามีและบุตร แต่ซูจีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รัฐบาลทหารจึงมีคำสั่งยืดเวลาการกักบริเวณเธอจาก 3 ปี เป็น 5 ปี และเพิ่มอีก 1 ปีในเวลาต่อมา
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2534 คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อ นางอองซาน ซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซูจีไม่มีโอกาสเดินทาง ไปรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ด้วยตัวเอง เดือนธันวาคม อเล็กซานเดอร์ และคิมบินไปรับรางวัล แทนมารดาที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ สองพี่น้องเดิน ถือภาพถ่ายของมารดา ขึ้นเวทีท่าม กลางเสียงปรบมือต้อนรับอย่างกึกก้อง อเล็กซานเดอร์กล่าว กับคณะกรรมการและผู้มาร่วมในพิธีว่า “ผมรู้ว่าถ้าแม่มีอิสรภาพและอยู่ที่นี่ในวันนี้ แม่จะขอบคุณพวกคุณพร้อมกับขอร้อง ให้พวกคุณร่วมกันสวดมนต์ ให้ทั้งผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่โยนอาวุธทิ้ง และหันมาร่วมกันสร้างชาติด้วยความเมตตากรุณาและจิตวิญญาณแห่งสันติ”
ซูจีประกาศใช้เงินรางวัลจำนวน 1.3 ล้านเหรียญ จัดตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษา ของประชาชนพม่า ต่อมา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ซูจีได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณครั้งแรก
[แก้] การเคลื่อนไหว
ออง ซาน ซูจีขณะอยู่ในบ้านพักที่ต่อมาจะเป็นที่กักขังเธอการปล่อยตัวจากการบริเวณนี้ ซูจี ยังคงถูกติดตาม ความเคลื่อนไหว และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เธอถูกห้าม ไม่ให้ปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านของเธอเอง และเมื่อเธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพัก เพื่อไปพบปะฝูงชน เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไปทุกแห่งหน พร้อมกับฝูงชนจัดตั้งจำนวนหนึ่ง ที่พยายามทำร้ายเธอ และเพื่อนร่วมคณะ ซึ่งครั้งหนึ่งฝูงชนจัดตั้งดังกล่าวได้ใช้ก้อนหิน และวัตถุอันตรายอื่นๆ กว้างปาเข้าใส่รถของเธอจนเสียหาย ทั้ง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ออง ซาน ซูจีขณะอยู่ในบ้านพักที่ต่อมาจะเป็นที่กักขังเธอการปล่อยตัวจากการบริเวณนี้ ซูจี ยังคงถูกติดตาม ความเคลื่อนไหว และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เธอถูกห้าม ไม่ให้ปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านของเธอเอง และเมื่อเธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพัก เพื่อไปพบปะฝูงชน เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไปทุกแห่งหน พร้อมกับฝูงชนจัดตั้งจำนวนหนึ่ง ที่พยายามทำร้ายเธอ และเพื่อนร่วมคณะ ซึ่งครั้งหนึ่งฝูงชนจัดตั้งดังกล่าวได้ใช้ก้อนหิน และวัตถุอันตรายอื่นๆ กว้างปาเข้าใส่รถของเธอจนเสียหาย ทั้ง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซูจี ดำเนินการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี ด้วยการใช้วิธีเขียนจดหมาย เขียนหนังสือ บันทึกวีดีโอเทป เพื่อส่งผ่านข้อเรียกร้องของเธอ ต่อรัฐบาลทหารพม่า ออกมาสู่ประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่สามารถทำได้ เดือน กรกฎาคม 2541 ซูจี นั่งประท้วงอยู่ในรถยนต์ ของเธอเองเป็นเวลาห้าวัน หลังจากถูกตำรวจ สกัดไม่ให้รถยนต์ของเธอเดินทางออกจากย่างกุ้งเพื่อไปพบปะกับสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เดือนสิงหาคม 2541 ซูจี ถูกสกัด ไม่ให้เดินทางไปพบปะสมาชิกพรรคของเธออีกครั้งหนึ่ง ซูจี ใช้ความสงบ เผชิญหน้า กับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเวลาถึงหกวัน จนเสบียงอาหารที่เตรียมไปหมด เธอถูกบังคับพาตัวกลับ ที่พักหลังจากนั้น
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ซูจี และสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย จะเดินทางเพื่อไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ถูกตำรวจสกัดไม่ให้เดินทางออกพ้นชานกรุงย่างกุ้งซูจี ยืนยันที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ โดยใช้วิธีเผชิญหน้าอย่างสงบกับตำรวจอยู่ ณ จุดที่ถูกสกัดเป็นเวลาถึง 9 วัน จนถึงวันที่ 2 กันยายน ตำรวจปราบจลาจลร่วม 200 นาย พร้อมอาวุธครบมือ บังคับนำเธอกลับเข้าเมือง
สองสัปดาห์ต่อมา ซูจี พร้อมคณะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางไปที่สถานีรถไฟ เพื่อซื้อตั๋วโดยสารทางออกจากเมืองร่างกุ้ง แต่รัฐบาลเผด็จการทหารได้ส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษ ไปควบคุมตัวเธอกลับบ้านพัก พร้อมทั้งวางกำลัง เจ้าหน้าที่ควบคุมจุดต่าง ๆ บนถนนหน้าบ้านพักของนางซูจี ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าพบปะ เยี่ยมเยียนเธอ
ซูจี ถูกกักบริเวณโดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดอีกเป็น ครั้งที่สอง เป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 และได้รับอิสรภาพ จากการกักบริเวณครั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ขณะที่ผู้รักสันติภาพทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบหนึ่งร้อยปี ของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พร้อมกับฉลองวาระครบสิบปีที่ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ยังคงถูกจำกัดอิสรภาพอยู่ในประเทศพม่า ไม่มีโอกาสเดินทางไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิตพร้อมกับผู้ได้รับรางวัลคนอื่น ๆ
เกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนจัดตั้ง ของรัฐบาลกับกลุ่มผู้สนับสนุน ซูจีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระหว่างที่นางซูจีเดินทางเพื่อพบปะกับประชาชน ในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า ทำให้ซูจีถูกสั่งกักบริเวณให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักอีกเป็น ครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546
[แก้] การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
ชุดบทความประวัติศาสตร์พม่า
ชุดบทความประวัติศาสตร์พม่า
ประวัติศาสตร์พม่ายุคต้น
นครรัฐปยู
(ประมาณ พ.ศ. 443 – ประมาณ พ.ศ. 1383)
อาณาจักรมอญ
(พศว. 14 – 16, พศว. 18 – 21, พศว. 23)
อาณาจักรพุกาม
(พ.ศ. 1392 – 1830, อาณาจักรยุคที่ 1)
อาณาจักรอังวะ (พ.ศ. 1907 – 2098)
อาณาจักรมเร้าก์อู (พ.ศ. 1977 – 2327)
ราชวงศ์ตองอู
(พ.ศ. 2029 – 2295, อาณาจักรยุคที่ 2)
ราชวงศ์อลองพญา
(พ.ศ. 2295 – 2428, อาณาจักรยุคที่ 3)
สงครามกับอังกฤษ
(พ.ศ. 2367 – 2369, พ.ศ. 2395, พ.ศ. 2428)
พม่าของอังกฤษ
(พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2485, พ.ศ. 2485 – 2491)
อาระกันของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
ตะนาวศรีของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
พม่าตอนล่างของอังกฤษ (พ.ศ. 2395 – 2429)
พม่าตอนบนของอังกฤษ (พ.ศ. 2428 – 2429)
การยึดครองพม่าโดยญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485 – 2488)
ขบวนการชาตินิยมในพม่า (หลัง พ.ศ. 2429)
บา มอว์
ออง ซาน
ยุคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2491 - 2505)
อู นุ และ อู ถั่น
รัฐบาลทหารครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2505 – 2532)
เน วิน
การจลาจล 8888 (พ.ศ. 2531)
ออง ซาน ซูจี
รัฐบาลทหารครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2532 – ปัจจุบัน)
การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ (พ.ศ. 2550)
พายุหมุนนาร์กิส (พ.ศ. 2551)
[แก้ไขแม่แบบนี้]
ดูบทความหลักที่ การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550
การประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองพะโคกกุ ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป
การประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองพะโคกกุ ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป
คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจากชาวพม่า ประกาศ "ปฐม นิคหกรรม" ไม่รับบิณฑบาตจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วย ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนางออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตั้วต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546
[แก้] การละเมิดกฎหมาย พ.ศ. 2552วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 นายจอห์น ยัตทอว์ ชาวอเมริกัน ได้ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบไปยังบ้านพักที่ อองซานซูจี ถูกกักบริเวณอยู่ เขาอาศัยอยู่กับ ซูจี เป็นเวลาสองคืน ก่อนจะว่ายน้ำกลับมายังอีกฝั่งและถูกทหารพม่าจับกุมตัวในที่สุด วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 อองซานซูจี ถูกจับกุมตัวและนำไปคุมขังในเรือนจำอินเส่ง ในข้อหาละเมิดคำสั่งกักบริเวณของรัฐบาลทหารพม่าวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ศาลพม่าอ่านคำพิพากษาว่า อองซานซูจี มีความผิดข้อหาละเมิดกฎหมายความมั่นคงภายในประเทศมีโทษจำคุก 3 ปี แต่รัฐบาลทหารพม่าให้ลดโทษลงครึ่งหนึ่งเหลือเพียง 18 เดือน และไม่ต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำอินเส่ง แต่ให้กลับไปถูกควบคุมตัวในบ้านพักเช่นเดิม
จากโทษครั้งนี้ทำให้ ซูจี อาจไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไปของพม่าที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ด้านนายจอห์น ยัตทอว์ ถูกศาลสั่งจำคุกและใช้แรงงานเป็นเวลา 7 ปี ตามความผิด 3 ข้อหา ซึ่งประกอบด้วยความผิดข้อหาละเมิดความมั่นคง 3 ปี เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย 3 ปี และว่ายน้ำอย่างผิดกฎหมายในที่ห้ามว่ายเป็นเวลา 1 ปี ในวันที่ 15 สิงหาคม นางออง ซาน ซูจี ได้เดินทางไปที่เรือนรับรองของรัฐบาลพม่าในเมืองย่างกุ้ง เพื่อพบหารือกับวุฒิสมาชิกจิม เวบบ์ ประธานคณะอนุกรรมการวิเทศสัมพันธ์กิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของวุฒิสภา สหรัฐ ซึ่งเดินทางมาเยือนพม่าเป็นเวลา 3 วัน ทั้งนี้ ขบวนรถยนต์ประกอบด้วย รถตำรวจหลายคันและรถของนางซูจี ได้นำเธอออกจากบ้านพักริมทะเลสาบกรุงย่างกุ้ง เพื่อมาพบกับ ส.ว.จิม เวบบ์ ซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นการหารือเมื่อช่วงเช้ากับพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นำรัฐบาลทหารพม่าที่กรุงเนปิดอ
[แก้] ปล่อยตัวในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เธอได้รับการปล่อยตัวจากรัฐบาลทหารพม่า[10] เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน เธอได้พบกับบุตรชายคนเล็กครั้งแรก โดยเธอได้รอรับบุตรชายที่สนามบินมิงกะลาดง เธอและบุตรชายได้ปรากฏตัวที่มหาเจดีย์ชเวดากอง เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เธอได้อยู่ร่วมกับครอบครัว แม้จะไม่สมบูรณ์ก็ตาม[13]
[แก้] การศึกษาพ.ศ. 2510 ปริญญาสาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร
[แก้] ประวัติการทำงานและผลงานสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
เจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศภูฏาน
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ. 2534 จากการต่อสู้โดยสันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
[แก้] ประวัติการทำงานและผลงานสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
เจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศภูฏาน
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ. 2534 จากการต่อสู้โดยสันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น