เรื่องเล่าจากสังคม
เพื่อความสุขสนุกสนาม กับการชมบล็อก
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
ขุนพลแห่งภูพาน เตียง ศิริขันธ์
ประวัติ
นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นชาวสกลนครโดยกำเนิด เกิด พ.ศ. 2452 บิดาชื่อขุนนิเทศพานิชย์ (บุดดี ศิริขันธ์) มารดาชื่อ นางอ้ม ศิริขันธ์ บิดาเป็นนักธุรกิจ มีคนนับหน้าถือตา หนึ่งใน จังหวัดสกลนครในสมัยนั้น เป็นพ่อค้าผู้ควบคุม กองเกวียน ส่งของออกไปขายต่างจังหวัดและซื้อ ของต่างจังหวัดมาขายในเมืองแต่ละครั้งจะ มีพ่อค้านำกองเกวียนรวมไปด้วย 20 - 30 ราย เดินทางไปจนถึงขอนแก่น นครราชสีมา หรือกรุงเทพฯ เป็นแรมเดือน บางครั้งก็นำวัวไปขายถึง เมือง มะละแหม่ง-ย่างกุ้ง นับว่ามี รายได้ดีจนมีฐานะเป็นคหบดีคนหนึ่ง ของสกลนคร
ขุนนิเทศพานิชย์มีบุตรรวม 9 คน คือ
1. นายเนียม
2. นายเจียม
3. นางบุญเทียม บำเพ็ญสิทธิ์
4. นางเกี่ยง
5. นายเที่ยง
6. นายเตียง
7. นางคำเปลว ขื่นสำราญ
8. นายนุ่ม
9.นายนวม (พีระ)
การศึกษา
นายเตียง ศิริขันธ์ เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง เมื่อเรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนประจำจังหวัดแล้ว นายฮ้อยบุดดี ได้ส่งตัวมาเรียนต่อที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี เป็นโรงเรียนประจำมณฑล และมีการสอนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าโรงเรียนอื่น ๆ ในมณฑลอุดรธานี โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้าน รตอ.ขุนรักษ์นิกร (เกิด ตราชู) บุตรเขยของขุนศรีธนานนท์ เมื่อ นายเตียงเรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลเแล้ว นายฮ้อยบุดดีได้ให้นายเตียง เรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศในกรุงเทพ ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม ในพ. ศ.2470 คือ เมื่ออายุได้ 18 ปี เทียบเท่า กับม.8 ในสมัยนั้น ต่อจากนั้นนายเตียง ได้สมัครเข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อ เลือกสายอักษาศาสตร์ เป็นวิชาเอกและเป็นนิสิตรุ่นแรกของคณะ จบ ปีที่ 3 ได้รับประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป. ม.) ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่เปิดเรียนระดับ ปริญญาตรี ต่อมานายเตียงได้เข้าเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนมัธยมหอวัง(อาคารเดิมตั้งอยู่ใน กรีฑาสถานแห่งชาติ) อีก 4 ปีต่อมาใน พ.ศ. 2477 ทางราชการได้ย้ายนายเตียงไปเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนอุดร พิทยานุกูลซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของนายเตียงเอง โดยมีมล.มานิจ ชุมสาย เป็นอาจารย์ใหญ่ วิชาที่นายเตียงสอนคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ ขณะที่รับราชการเป็นครู ถูกจับในข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ ใน พ.ศ. 2477 ถูกส่งตัวมาดำเนินคดีที่กรุงเทพฯ ต่อมาศาลยกฟ้องให้นายเตียงพ้นข้อหาไป
ผลงานของนายเตียง ศิริขันธ์
ภายหลังจากศาลยกฟ้องจากข้อหาคอมมิวนิสต์ นายเตียงได้เปลี่ยนวิถีชี วิตทาง การดำเนินชีวิต หันเข้ามาเล่นการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งแรกในประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2478 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม นายเข้ารับสมัครเลือกตั้งในจังหวัด สกลนคร และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในปีนั้น และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ของจังหวัดสกลนครทุกสมัย เช่นใน พ.ศ. 2480 ซึ่งมีการเลือกตั้งโดยตรง นายเตียงก็ ได้รับเลือกตั้งเข้าไปนั่งในสภาผู้แทน และมีความสนิทสนมกับนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส.อุบลราชธานี) นายถวิล อุดล (ส.ส.ร้อยเอ็ด)และนายจำลอง ดาวเรือง (ส.ส.มหาสารคาม) มีความใกล้ชิดชื่นชมนายปรีดี พนมยงค์ จนเป็นที่ไว้วางใจหลังจากที่นายเตียงเป็น ส.ส. ไม่กี่ปี ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นยกพล ขึ้นบกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ประเทศไทยในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำสัญญาร่วมรบและร่วมรุกับญี่ปุ่น นายปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วยและถูกผลักดันให้พ้น จากตำแหน่งการเมืองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน นายปรีดี พนมยงค์ เห็นว่าควรติดต่อกับฝ่าย สัมพันธมิตร เพื่อให้เข้าใจสภาพอันแท้จริงของไทยที่ต้องเสียอิสรภาพ จึงได้มีการติดต่อกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และจีน นายเตียง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำเสรีไทย ประจำภาคอีสาน ทำการชักชวนชาวบ้านร่วมฝึกอาวุธเป็นกองทัพประชาชนจัดทำสนามบิน 3 แห่ง ที่บ้านโนนหอม บ้านเต่างอย และตาดภูวง นับว่าเป็นการเสี่ยงภัย ในขณะที่มีการประกาศกฎอัยการศึกและเสี่ยงภัยต่อการถูก ญี่ปุ่นจับประหารชีวิต แต่โชคดีที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ ในสงคราม ทหารป่าเสรีไทยได้ไปเดินสวนสนาม ที่กรุงเทพฯ ในปลายเดือนกันยายน 2488 เก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ส่ง ให้ทางราชการต่อไป ชีวิตนายเตียง ศิริขันธ์ หลังสงคราญี่ปุ่น ได้เป็นคณะรัฐมนตรี อยู่ในคณะรัฐบาล 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 31 ส.ค.-17 ก.ย . 2488 ในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ ครั้ง ที่ 2 ในรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ตั้งแต่วันที่ 17 กย. 2488- 31 ม.ค. 2489 ครั้งที่ 3 ในคณะรัฐบาลพลเรือนเอกถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ วันที่ 23 ส.ค. 2489 แต่ต่อมา ในวันที่ 10เมษายน 2490 นายเตียงได้ลาออก จากตำแหน่งรัฐมนตรี เมื่อต้องเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา ในฐานะเป็นรองตัวแทนการเจรจาประนีประนอม ระหว่าง ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส ภายหลังที่สี่ รัฐมนตรีถูกฆ่าตายอย่างทารุณ นายเตียงไม่ไว้ใจสถานการณ์ทางการเมือง จึงตัดสินใจหนี ขึ้นภูพานพร้อมลูกน้องจำนวนไม่กี่คน ซึ่ง ต่อมาทางการได้ตั้งข้อหานายเตียงว่า "แบ่งแยกดินแดน" ท่านกลางการติดตาม ไล่ล่าตัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ต่อมามีผู้พบศพนายเตียง ศิริขันธ์ พร้อมด้วยบุคคลอื่น ๆ อีก 5 คน ที่ป่าแห่งหนึ่ง ในตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คาดว่าบุคคล ดังกล่าวถูกฆ่าตามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2495 นายเตียง มีภรรยา 1 คน คือ นางนิวาศน์ ศิริขันธ์ และมีบุตร 1 คน ชื่อนายวิฑูร เกิดในปี พ.ศ. 2485 หลังจากนางนิวาศน์ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจแล้ว ไม่ช้านายวิฑูรก็ออกจากบ้านในกรุงเทพมหานคร โดยไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย นายเตียงได้ฉายาว่า "ขุนพลภูพาน" คือ เป็นทั้งแม่ทัพใหญ่ในการฝึกกหัดเสรีไทย นับเป็นพันคน หลายรุ่นมีอัธยาศัยไมตรีจนเป็น ที่ไว้วางใจของชาวสกลนครความเด็ดเดี่ยว มีอุดมการณ์ที่ต่อสู้กับนักการเมืองที่มีอิทธิพลทำให้เขาถูกยัดเยียดข้อหาฉกรรจ์ใน สมัยนั้น จนถูกฆ่าตายในที่สุด ดังนั้นจึงสมควรที่จะถูกยกย่องเป็นวีรบุรุษคนสำคัญของสกลนคร "คนดีศรีสกล"
ถ้ำเสรีไทย ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูพาน
ที่มาของข้อมูล : เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน ซันดอกหวา
ออง ซาน ซูจี (พม่า: ) เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านในประเทศพม่า เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 บิดาคือ นายพลออง ซาน ผู้นำการเรียกร้องเอกราชของพม่า ซึ่งถูกสังหารเสียชีวิตเมื่อเธอมีอายุเพียง 2 ขวบ ซูจีได้สมรสกับ ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล อริส อาจารย์สอนวิชาทิเบตศึกษา ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร มีบุตรชายสองคน คือ อเล็กซานเดอร์ และคิม ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร.ไมเคิล อริสได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2542 โดยรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของพม่า ได้กำหนดไว้ว่าชาวพม่าที่สมรสกับคนต่างชาติ จะไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ออง ซาน ซูจี จึงหมดสิทธิ์ลงสมัคร[9]
ออง ซาน ซูจีถูกสั่งกักบริเวณในบ้านพักตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[10]
ชีวิตช่วงแรกออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ ย่างกุ้ง พม่าของอังกฤษ (British Burma)[11] บิดาของเธอ นายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า” ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เมื่อเธอได้อายุได้ 2 ปี บทบาทของนายพลอองซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491
ชีวิตช่วงแรกออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ ย่างกุ้ง พม่าของอังกฤษ (British Burma)[11] บิดาของเธอ นายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า” ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เมื่อเธอได้อายุได้ 2 ปี บทบาทของนายพลอองซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491
ดอว์ขิ่นจี ผู้เป็นภรรยาของนายพลอองซาน ต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรชายหญิง 3 คนโดยลำพังหลังจากสามีถูกลอบสังหาร ซูจีเป็นลูกคนเล็ก และเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัว ภายหลังบิดาเสียชีวิตไม่นาน พี่ชายคนรองของเธอประสบอุบัติเหตุ จมน้ำตายในบริเวณบ้านพัก ซูจีและพี่ชายคนโตคือ อองซาน อู เติบโตมากับการเลี้ยงดูของมารดา ที่เข้มแข็ง และความเอื้อเอ็นดูของกัลยาณมิตรร่วมอุดมการณ์ของบิดา
พ.ศ. 2503 ดอว์ขิ่นจี ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่า ประจำประเทศอินเดีย ซูจีถูกส่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมและวิทยาลัยสตรีศรีราม ที่นิวเดลี จากนั้นไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การเมือง และปรัชญาที่เซนต์ฮิวส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ระหว่างปี พ.ศ. 2507-2510 ช่วงที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีได้พบรักกับ ไมเคิล อริส นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต
ปีเดียวกันกับที่ซูจีจบการศึกษา ดอว์ขิ่นจี หมดวาระในตำแหน่งทูตประจำประเทศอินเดีย และย้ายกลับไปพำนัก ที่ย่างกุ้ง ซูจี แยกจากมารดาเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์ก เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้ คณะกรรมการที่ปรึกษา ด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณ และการจัดการของสำนักงานเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ ขณะนั้น อูถั่น ซึ่งเป็นชาวพม่า ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของ องค์การสหประชาชาติ ในการทำงาน 3 ปีที่นี่ซูจีใช้เวลาช่วงเย็น และวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นอาสาสมัครให้โรงพยาบาล ในโครงการช่วยอ่านหนังสือ และดูแลปลอบใจผู้ป่วยยากจน
เดือนมกราคม พ.ศ. 2515 ซูจีแต่งงานกับ ไมเคิล อริส และย้ายไปอยู่กับสามี ที่ราชอาณาจักรภูฏาน ซูจีได้งาน เป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฏาน ขณะที่ไมเคิลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า กรมการแปล รวมทั้งมีหน้าที่ถวายการสอน แก่สมาชิกราชวงศ์แห่งภูฏาน ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2516-2520 ทั้งสองย้ายกลับมาที่กรุงลอนดอน ไมเคิลได้งานสอน วิชาหิมาลัย และทิเบตศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีให้กำเนิดบุตรชายคนแรก อเล็กซานเดอร์ ในปี พ.ศ. 2516 และบุตรชายคนเล็ก คิม ในปี พ.ศ. 2520 นอกจากใช้เวลากับการเลี้ยงดูบุตรชายทั้งสองแล้ว ซูจีเริ่มทำงานเขียน และงานวิจัยเกี่ยวกับชีวประวัติของบิดาและยังช่วยงานหิมาลัยศึกษาของ ไมเคิลด้วย
พ.ศ. 2528-2529 ซูจี และไมเคิลตัดสินใจแยกจากกัน ระยะหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าทางวิชาการ ซูจีได้รับทุนทำวิจัยจาก ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ในการทำวิจัย เกี่ยวกับบทบาทของนายพลอองซาน ขณะที่ไมเคิลได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies ที่ซิมลา (Simla) ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ซูจีพาคิม บุตรชายคนเล็กไปญี่ปุ่นด้วย ส่วนไมเคิลได้พาอเล็กซานเดอร์ บุตรชายคนโตไปอยู่ด้วยที่อินเดีย ปีต่อมาซูจีได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies จึงพาคิมมาสมทบที่ซิมลา ประเทศอินเดีย ต่อมาซูจีที่อยู่ที่ญี่ปุ่นต้องบินไปดูแลมารดาที่เดินทางมารับการผ่าตัดต้อกระจกตา ที่ลอนดอน
พ.ศ. 2530 ซูจีและไมเคิลย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ซูจีเข้าศึกษาต่อที่ London School of Oriental and African Studies ที่กรุงลอนดอน เธอกำลังทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกเกี่ยวกับวรรณคดีพม่า
[แก้] กลับบ้านเกิดเพื่อสานอุดมการณ์และความฝันของบิดา
นางอองซาน ซูจีขณะกล่าวสุนทรพจน์แก่ชาวพม่าปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้าน เกิดที่ย่างกุ้ง เพื่อมาพยาบาล ดอว์ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก ในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในพม่ากดดันให้นายพลเนวินต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครอง ประเทศพม่ามานานถึง 26 ปี เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่ม ทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้อง ประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพลอองซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉัน ต้องเข้าร่วมด้วย” [12]
นางอองซาน ซูจีขณะกล่าวสุนทรพจน์แก่ชาวพม่าปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้าน เกิดที่ย่างกุ้ง เพื่อมาพยาบาล ดอว์ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก ในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในพม่ากดดันให้นายพลเนวินต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครอง ประเทศพม่ามานานถึง 26 ปี เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่ม ทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้อง ประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพลอองซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉัน ต้องเข้าร่วมด้วย” [12]
ประชาชนไม่พอใจต่อระบอบเนวิน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ นั้นสะสมต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรมูลค่า 25 จัต 35 จัต และ 75 จัต โดยไม่ยอมให้มีการแลกคืน ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2530 ซึ่งทำให้เงินร้อยละ 75 หายไปจากตลาดเงิน นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งประท้วงด้วยการทำลายร้านค้าหลายแห่ง จนมีเหตุการณ์รุนแรงครั้งสำคัญปะทุขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 หลังเกิดเหตุทะเลาะ วิวาทระหว่างนักศึกษาในร้านน้ำชา และตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุ กลุ่มนักศึกษาได้รวมตัวกันประท้วง ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา แต่ตำรวจกลับใช้ความรุนแรง ตอบโต้ด้วยการยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งยังจับกุม นักศึกษานับพันคนไปจากการชุมนุม ก่อให้เกิดความไม่พอใจ ในหมู่นักศึกษาประชาชน และขยายไปทั่วประเทศ มีการประท้วงในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก จนเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่กดดันให้นายพลเนวินต้องประกาศลาออก
การลาออกของนายพลเนวินใน วันที่ 23 กรกฎาคม ตามมาด้วยการชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตย ของนักศึกษา และประชาชนหลายแสนคนในเมืองหลวงย่างกุ้ง และแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ประชาชนนับล้านรวมตัวกันในเมืองร่างกุ้ง อันเป็นเมืองหลวงของประเทศพม่า เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การประท้วงแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ผู้นำทหารได้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุม ทำให้ผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต
ออง ซาน ซูจี เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล เรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 26 สิงหาคม ออง ซาน ซูจี ในขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรก ต่อหน้าฝูงชนประมาณ 500,000 คน ที่มาชุมนุมกันที่เจดีย์ชเวดากอง ในย่างกุ้ง ซูจีเรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารกลับจัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (The State Law and Order Restoration Council : SLORC) ขึ้นแทน และได้ทำการปราบปรามสังหาร และจับกุมผู้ต่อต้านอีกหลายร้อยคนวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 ออง ซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยขึ้น (National League for Democracy: NLD) และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชีวิตทางการเมืองของนางออง ซาน ซูจี เริ่มต้น นับแต่นั้น
มารดาของซูจี ดอว์ขิ่นจี ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531 แต่ภารกิจต่อแผ่นดิน เกิดเรียกร้องให้ซูจีเลือกที่จะต่อสู้กับระบอบเผด็จการทหารอยู่บนแผ่นดินเหนือลุ่มน้ำอิรวดี-สาละวิน
[แก้] เกียรติยศ และการจองจำ
อเล็กซานเดอร์ อาริสและคิมบิน อาริส บุตรทั้ง 2 ของอองซานซูจีในวันรับรางวัลโนเบลรัฐบาลเผด็จการใช้อำนาจเผด็จการภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็น ครั้งแรก เวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาขยายเป็น 6 ปีโดยไม่มีข้อหา และได้จับกุม สมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่ คุกอินเส่ง ซูจีอดอาหารเพื่อประท้วง และเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ เวลานั้นอเล็กซานเดอร์ และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลจากอังกฤษมาที่ย่างกุ้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่า จะปฏิบัติอย่างดีต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
อเล็กซานเดอร์ อาริสและคิมบิน อาริส บุตรทั้ง 2 ของอองซานซูจีในวันรับรางวัลโนเบลรัฐบาลเผด็จการใช้อำนาจเผด็จการภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็น ครั้งแรก เวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาขยายเป็น 6 ปีโดยไม่มีข้อหา และได้จับกุม สมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่ คุกอินเส่ง ซูจีอดอาหารเพื่อประท้วง และเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ เวลานั้นอเล็กซานเดอร์ และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลจากอังกฤษมาที่ย่างกุ้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่า จะปฏิบัติอย่างดีต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 แม้ว่าซูจียังคงถูกกักบริเวณอยู่ แต่พรรคเอ็นแอลดี ของเธอได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลเผด็จการทหารในนามของ “สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ” ปฏิเสธที่จะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ผู้ชนะ แต่ยื่นข้อเสนอ ให้ซูจียุติบทบาททางการเมือง ด้วยการเดินทางออกนอกประเทศ ไปใช้ชีวิตครอบครัวกับสามีและบุตร แต่ซูจีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รัฐบาลทหารจึงมีคำสั่งยืดเวลาการกักบริเวณเธอจาก 3 ปี เป็น 5 ปี และเพิ่มอีก 1 ปีในเวลาต่อมา
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2534 คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อ นางอองซาน ซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซูจีไม่มีโอกาสเดินทาง ไปรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ด้วยตัวเอง เดือนธันวาคม อเล็กซานเดอร์ และคิมบินไปรับรางวัล แทนมารดาที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ สองพี่น้องเดิน ถือภาพถ่ายของมารดา ขึ้นเวทีท่าม กลางเสียงปรบมือต้อนรับอย่างกึกก้อง อเล็กซานเดอร์กล่าว กับคณะกรรมการและผู้มาร่วมในพิธีว่า “ผมรู้ว่าถ้าแม่มีอิสรภาพและอยู่ที่นี่ในวันนี้ แม่จะขอบคุณพวกคุณพร้อมกับขอร้อง ให้พวกคุณร่วมกันสวดมนต์ ให้ทั้งผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่โยนอาวุธทิ้ง และหันมาร่วมกันสร้างชาติด้วยความเมตตากรุณาและจิตวิญญาณแห่งสันติ”
ซูจีประกาศใช้เงินรางวัลจำนวน 1.3 ล้านเหรียญ จัดตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษา ของประชาชนพม่า ต่อมา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ซูจีได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณครั้งแรก
[แก้] การเคลื่อนไหว
ออง ซาน ซูจีขณะอยู่ในบ้านพักที่ต่อมาจะเป็นที่กักขังเธอการปล่อยตัวจากการบริเวณนี้ ซูจี ยังคงถูกติดตาม ความเคลื่อนไหว และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เธอถูกห้าม ไม่ให้ปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านของเธอเอง และเมื่อเธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพัก เพื่อไปพบปะฝูงชน เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไปทุกแห่งหน พร้อมกับฝูงชนจัดตั้งจำนวนหนึ่ง ที่พยายามทำร้ายเธอ และเพื่อนร่วมคณะ ซึ่งครั้งหนึ่งฝูงชนจัดตั้งดังกล่าวได้ใช้ก้อนหิน และวัตถุอันตรายอื่นๆ กว้างปาเข้าใส่รถของเธอจนเสียหาย ทั้ง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ออง ซาน ซูจีขณะอยู่ในบ้านพักที่ต่อมาจะเป็นที่กักขังเธอการปล่อยตัวจากการบริเวณนี้ ซูจี ยังคงถูกติดตาม ความเคลื่อนไหว และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เธอถูกห้าม ไม่ให้ปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านของเธอเอง และเมื่อเธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพัก เพื่อไปพบปะฝูงชน เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไปทุกแห่งหน พร้อมกับฝูงชนจัดตั้งจำนวนหนึ่ง ที่พยายามทำร้ายเธอ และเพื่อนร่วมคณะ ซึ่งครั้งหนึ่งฝูงชนจัดตั้งดังกล่าวได้ใช้ก้อนหิน และวัตถุอันตรายอื่นๆ กว้างปาเข้าใส่รถของเธอจนเสียหาย ทั้ง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซูจี ดำเนินการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี ด้วยการใช้วิธีเขียนจดหมาย เขียนหนังสือ บันทึกวีดีโอเทป เพื่อส่งผ่านข้อเรียกร้องของเธอ ต่อรัฐบาลทหารพม่า ออกมาสู่ประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่สามารถทำได้ เดือน กรกฎาคม 2541 ซูจี นั่งประท้วงอยู่ในรถยนต์ ของเธอเองเป็นเวลาห้าวัน หลังจากถูกตำรวจ สกัดไม่ให้รถยนต์ของเธอเดินทางออกจากย่างกุ้งเพื่อไปพบปะกับสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เดือนสิงหาคม 2541 ซูจี ถูกสกัด ไม่ให้เดินทางไปพบปะสมาชิกพรรคของเธออีกครั้งหนึ่ง ซูจี ใช้ความสงบ เผชิญหน้า กับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเวลาถึงหกวัน จนเสบียงอาหารที่เตรียมไปหมด เธอถูกบังคับพาตัวกลับ ที่พักหลังจากนั้น
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ซูจี และสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย จะเดินทางเพื่อไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ถูกตำรวจสกัดไม่ให้เดินทางออกพ้นชานกรุงย่างกุ้งซูจี ยืนยันที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ โดยใช้วิธีเผชิญหน้าอย่างสงบกับตำรวจอยู่ ณ จุดที่ถูกสกัดเป็นเวลาถึง 9 วัน จนถึงวันที่ 2 กันยายน ตำรวจปราบจลาจลร่วม 200 นาย พร้อมอาวุธครบมือ บังคับนำเธอกลับเข้าเมือง
สองสัปดาห์ต่อมา ซูจี พร้อมคณะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางไปที่สถานีรถไฟ เพื่อซื้อตั๋วโดยสารทางออกจากเมืองร่างกุ้ง แต่รัฐบาลเผด็จการทหารได้ส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษ ไปควบคุมตัวเธอกลับบ้านพัก พร้อมทั้งวางกำลัง เจ้าหน้าที่ควบคุมจุดต่าง ๆ บนถนนหน้าบ้านพักของนางซูจี ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าพบปะ เยี่ยมเยียนเธอ
ซูจี ถูกกักบริเวณโดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดอีกเป็น ครั้งที่สอง เป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 และได้รับอิสรภาพ จากการกักบริเวณครั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ขณะที่ผู้รักสันติภาพทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบหนึ่งร้อยปี ของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พร้อมกับฉลองวาระครบสิบปีที่ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ยังคงถูกจำกัดอิสรภาพอยู่ในประเทศพม่า ไม่มีโอกาสเดินทางไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิตพร้อมกับผู้ได้รับรางวัลคนอื่น ๆ
เกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนจัดตั้ง ของรัฐบาลกับกลุ่มผู้สนับสนุน ซูจีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระหว่างที่นางซูจีเดินทางเพื่อพบปะกับประชาชน ในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า ทำให้ซูจีถูกสั่งกักบริเวณให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักอีกเป็น ครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546
[แก้] การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
ชุดบทความประวัติศาสตร์พม่า
ชุดบทความประวัติศาสตร์พม่า
ประวัติศาสตร์พม่ายุคต้น
นครรัฐปยู
(ประมาณ พ.ศ. 443 – ประมาณ พ.ศ. 1383)
อาณาจักรมอญ
(พศว. 14 – 16, พศว. 18 – 21, พศว. 23)
อาณาจักรพุกาม
(พ.ศ. 1392 – 1830, อาณาจักรยุคที่ 1)
อาณาจักรอังวะ (พ.ศ. 1907 – 2098)
อาณาจักรมเร้าก์อู (พ.ศ. 1977 – 2327)
ราชวงศ์ตองอู
(พ.ศ. 2029 – 2295, อาณาจักรยุคที่ 2)
ราชวงศ์อลองพญา
(พ.ศ. 2295 – 2428, อาณาจักรยุคที่ 3)
สงครามกับอังกฤษ
(พ.ศ. 2367 – 2369, พ.ศ. 2395, พ.ศ. 2428)
พม่าของอังกฤษ
(พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2485, พ.ศ. 2485 – 2491)
อาระกันของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
ตะนาวศรีของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
พม่าตอนล่างของอังกฤษ (พ.ศ. 2395 – 2429)
พม่าตอนบนของอังกฤษ (พ.ศ. 2428 – 2429)
การยึดครองพม่าโดยญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485 – 2488)
ขบวนการชาตินิยมในพม่า (หลัง พ.ศ. 2429)
บา มอว์
ออง ซาน
ยุคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2491 - 2505)
อู นุ และ อู ถั่น
รัฐบาลทหารครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2505 – 2532)
เน วิน
การจลาจล 8888 (พ.ศ. 2531)
ออง ซาน ซูจี
รัฐบาลทหารครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2532 – ปัจจุบัน)
การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ (พ.ศ. 2550)
พายุหมุนนาร์กิส (พ.ศ. 2551)
[แก้ไขแม่แบบนี้]
ดูบทความหลักที่ การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550
การประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองพะโคกกุ ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป
การประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองพะโคกกุ ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป
คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจากชาวพม่า ประกาศ "ปฐม นิคหกรรม" ไม่รับบิณฑบาตจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วย ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนางออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตั้วต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546
[แก้] การละเมิดกฎหมาย พ.ศ. 2552วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 นายจอห์น ยัตทอว์ ชาวอเมริกัน ได้ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบไปยังบ้านพักที่ อองซานซูจี ถูกกักบริเวณอยู่ เขาอาศัยอยู่กับ ซูจี เป็นเวลาสองคืน ก่อนจะว่ายน้ำกลับมายังอีกฝั่งและถูกทหารพม่าจับกุมตัวในที่สุด วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 อองซานซูจี ถูกจับกุมตัวและนำไปคุมขังในเรือนจำอินเส่ง ในข้อหาละเมิดคำสั่งกักบริเวณของรัฐบาลทหารพม่าวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ศาลพม่าอ่านคำพิพากษาว่า อองซานซูจี มีความผิดข้อหาละเมิดกฎหมายความมั่นคงภายในประเทศมีโทษจำคุก 3 ปี แต่รัฐบาลทหารพม่าให้ลดโทษลงครึ่งหนึ่งเหลือเพียง 18 เดือน และไม่ต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำอินเส่ง แต่ให้กลับไปถูกควบคุมตัวในบ้านพักเช่นเดิม
จากโทษครั้งนี้ทำให้ ซูจี อาจไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไปของพม่าที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ด้านนายจอห์น ยัตทอว์ ถูกศาลสั่งจำคุกและใช้แรงงานเป็นเวลา 7 ปี ตามความผิด 3 ข้อหา ซึ่งประกอบด้วยความผิดข้อหาละเมิดความมั่นคง 3 ปี เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย 3 ปี และว่ายน้ำอย่างผิดกฎหมายในที่ห้ามว่ายเป็นเวลา 1 ปี ในวันที่ 15 สิงหาคม นางออง ซาน ซูจี ได้เดินทางไปที่เรือนรับรองของรัฐบาลพม่าในเมืองย่างกุ้ง เพื่อพบหารือกับวุฒิสมาชิกจิม เวบบ์ ประธานคณะอนุกรรมการวิเทศสัมพันธ์กิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของวุฒิสภา สหรัฐ ซึ่งเดินทางมาเยือนพม่าเป็นเวลา 3 วัน ทั้งนี้ ขบวนรถยนต์ประกอบด้วย รถตำรวจหลายคันและรถของนางซูจี ได้นำเธอออกจากบ้านพักริมทะเลสาบกรุงย่างกุ้ง เพื่อมาพบกับ ส.ว.จิม เวบบ์ ซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นการหารือเมื่อช่วงเช้ากับพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นำรัฐบาลทหารพม่าที่กรุงเนปิดอ
[แก้] ปล่อยตัวในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เธอได้รับการปล่อยตัวจากรัฐบาลทหารพม่า[10] เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน เธอได้พบกับบุตรชายคนเล็กครั้งแรก โดยเธอได้รอรับบุตรชายที่สนามบินมิงกะลาดง เธอและบุตรชายได้ปรากฏตัวที่มหาเจดีย์ชเวดากอง เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เธอได้อยู่ร่วมกับครอบครัว แม้จะไม่สมบูรณ์ก็ตาม[13]
[แก้] การศึกษาพ.ศ. 2510 ปริญญาสาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร
[แก้] ประวัติการทำงานและผลงานสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
เจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศภูฏาน
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ. 2534 จากการต่อสู้โดยสันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
[แก้] ประวัติการทำงานและผลงานสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
เจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศภูฏาน
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ. 2534 จากการต่อสู้โดยสันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
มหาตมา คานธี
มหาตมา คานธี (อังกฤษ: Mahatma Gandhi)เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู
มหาตมา คานธี'มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กะรัมจันท คานธี (คุชราต: મોહનદાસ કરમચંદ ગાંધી; อังกฤษ: Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย มารดาของคานธี เป็นภรรยาคนที่ 4 ของบิดาของคานธี
- ค.ศ. 1883 เดือนพฤษภาคม คานธีมีอายุ 13 ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงชื่อกัสตูรพา ซึ่งอายุมากกว่าคานธีประมาณ 6 เดือน ซึ่งสาเหตุที่คานธีสมรสเร็วนั้น มาจากประเพณีท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กแต่งงานกันเร็วๆ คานธีมีความสุขกับชีวิตคู่มาก คานธีและกัสตูรพามีบุตร-ธิดา รวมกันทั้งสิ้น 5 คน แต่คนหนึ่งเสียชีวิตลงตั้งแต่ยังเป็นทารก ทำให้เหลือ 4 คน
- ค.ศ. 1888 เป็นปีที่บุตรคนแรก (ไม่นับคนที่เสียชีวิตขณะเป็นทารก) ของคานธีได้ถือกำเนิดขึ้น และเป็นปีที่ทางครองครัว ได้ส่งคานธีไปศึกษาวิชากฎหมายที่อังกฤษ โดยก่อนจะเดินทาง คานธีได้ให้สัญญากับมารดาว่า จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์และสุรา และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับสตรี เพื่อให้มารดาได้อุ่นใจ แล้วเดินทางไปอังกฤษ
ปัญหาด้านอาหารนั้นทุเลาลงเมื่อคานธีได้รู้จักอาหารมังสวิรัติ และได้ซื้อหนังสือคู่มือสำหรับนักมังสวิรัติเข้า คานธีจึงได้มีวิธีรับประทานมังสวิรัติอย่างเป็นสุขในอังกฤษ ส่วนมารยาทและวัฒนธรรมก็ต้องค่อยๆปรับตัวไป และในที่สุดคานธีก็สำเร็จการศึกษาและสอบได้เป็นเนติบัณฑิต และเมื่อได้เป็นเนติบัณฑิตแล้ว คานธีก็เดินทางกลับสู่อินเดียใน ค.ศ. 1892 เพื่อประกอบอาชีพ
ในปีเดียวกันคานธีกลับมา ลูกคนที่สองของคานธีก็กำเนิดขึ้น แต่ในด้านอาชีพ แม้จะประสบความสำเร็จในการศึกษา แต่การประกอบอาชีพในช่วงแรกของคานธีนั้นประสบความยากลำบาก แต่แล้ว ไม่นานต่อมา คานธีก็ได้งานชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คานธีกลายเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา
งานนั้นคือ ให้ไปเป็นทนายว่าความให้ลูกความในประเทศแอฟริกาใต้ ดังนั้น ใน ค.ศ. 1893 คานธีได้เดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้ โดยเมื่อเดินทางไปถึง คานธีได้ซื้อตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นที่หรูหราสะดวกสบายที่สุด ค่าตั๋วแพงที่สุด) ไปยังเมืองที่ลูกความต้องการ แต่ทว่า ผู้โดยสารชั้น First Class ที่ผิวขาว ไม่พอใจที่คนผิวคล้ำอย่างคานธีมาอยู่ร่วมชั้น First Class กับพวกเขา จึงไปประท้วงบอกเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงเดินมาสั่งให้คานธีย้ายตู้โดยสารไปโดยสารตู้ของ Third Class (ชั้นไม่สะดวก ไม่หรูหรา แต่ค่าตั๋วถูกที่สุด) ทั้งๆที่คานธีเสียเงินซื้อตั๋ว First Class มาอย่างถูกต้อง คานธีจึงปฏิเสธ ทำให้ความขัดแย้งในรถไฟชั้น First Class รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด คานธีก็ถูกเจ้าหน้าที่รุมทำร้าย และคานธีถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนออกมาจากรถไฟ โดยเจ้าหน้าที่ต่างอ้างว่า รถไฟชั้นหนึ่งนี้สร้างสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น
เหตุการณ์นี้ทำให้คานธีเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งเศร้ามากยิ่งขึ้นเมื่อรู้ว่าชาวผิวคล้ำเกือบทุกคนถูกเหยียดหยามจากชนผิวขาวในแอฟริกาใต้ นับแต่นั้น คานธีก็ได้เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำในแอฟริกาใต้ และเมื่อคานธีรู้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ไม่จบง่ายๆ จึงได้เดินทางไปอินเดียใน ค.ศ. 1896 เพื่อพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกันที่แอฟริกาใต้ และกลับสู่อินเดียใน ต้นปี ค.ศ. 1897 และใช้ชีวิตครอบครัวต่อจนมีลูกกับภรรยาต่ออีก 2 คน
[แก้] เรียกร้องความเป็นธรรม
- ค.ศ. 1901 คานธีเดินทางกลับอินเดียเพื่อกลับไปประกอบอาชีพต่อ แต่มีเสียงเรียกร้องจากชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ให้มาช่วยด้วย คานธีเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ต่อใน ค.ศ. 1902 แต่ว่า การต่อสู้ของคานธีเมื่อครั้งก่อนนั้นให้ผลไม่ดีเท่าไรนัก ดังนั้นในครั้งนี้ คานธีใช้วิธี "สัตยาเคราะห์" ซึ่งคือ การไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีมาก ทำให้คานธีรู้ว่าการประท้วงโดยไม่ใช้กำลังนั้นให้ผลดีกว่าที่คิด จึงพบวิธีที่แน่นอนและได้ผลดีในการเรียกร้องความยุติธรรม โดยคานธีได้อยู่เรียกร้องความยุติธรรมนี้จนถึง ค.ศ. 1914 ก็เดินทางออกจากแอฟริกาใต้
- ค.ศ. 1915 คานธีเดินทางกลับมาถึงอินเดียที่เมืองบอมเบย์ คานธีตัดสินใจละทิ้งการแต่งกายแบบตะวันตกดังที่เคย และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของแคว้นคุชราต และเมื่อเดินทางกลับมาถึง ชาวอินเดียจำนวนมากไปชุมนุมต้อนรับคานธีกลับบ้านอย่างล้นหลาม ไม่กี่วันต่อมา คานธีเดินทางไปหา รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และรพิทรนาถนี้เอง ได้ขนานนามคานธีว่า "มหาตมา" อันแปลว่า ผู้มีจิตใจสูงส่งให้แก่คานธี เป็นคนแรก และหลังจากนั้น คานธี ได้เดินทางไปทั่วประเทศอินเดีย เพื่อจะได้ไปรู้เห็นความเป็นจริงในอินเดียอย่างรู้จริงเป็นเวลารวม 1 ปี
- ค.ศ. 1916 คานธีเริ่มก่อกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนอินเดีย และเรียกร้องโดยวิธีขอความร่วมมือผนึกกำลังคนละเล็กคนละน้อยจนเป็นพลังที่สั่นประเทศได้ ประกอบกับในช่วงนั้น อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้ต้องมีการเรียกร้องสิทธิที่อังกฤษพยายามกดขี่ชาวอินเดีย
- ค.ศ. 1919 ได้มีการประกาศกฎหมาย Rowlatt ซึ่งเป็นกฎหมายที่กดขี่ชาวอินเดีย คานธีจึงประกาศขอความร่วมมือว่าในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1919 ขอความร่วมมือให้คนอินเดียหยุดงาน แล้วประชาชนเป็นล้านๆ คนก็หยุดงานในวันนั้น สั่นคลอนอำนาจรัฐบาลอังกฤษอย่างชัดเจน คานธีรู้สึกอัศจรรย์ แต่ไม่นานก็พบข้อเสียของการใช้วิธีสัตยาเคราะห์ กับสังคมขนาดใหญ่ๆ อย่างอินเดีย
แต่ในวันนั้นเอง เป็นวันนักขัตฤกษ์ของอินเดีย ประชาชนนับพันคนไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา เมืองอมฤตสระ แต่ว่า ในวันนั้น นายพล Dyer ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษในอมฤตสระ รู้สึกเคียดแค้นชาวอินเดีย และต้องการให้ชาวอินเดียรู้ถึงอานุภาพอังกฤษ จึงออกคำสั่งให้กองทัพรัวปืนใส่กลุ่มประชาชนในชัลลียันวาลา ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 ศพ บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ทำให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยากจะฟื้นตัว
- ค.ศ. 1922 ได้เกิดเหตุใช้กำลังต่อสู้กันอีกครั้ง คานธีถูกจับกุมอีกครั้งในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ และถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปี แต่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนดเพราะเหตุผลทางสุขภาพใน ค.ศ. 1924 และตั้งแต่ถูกปล่อยตัว คานธีก็หันไปแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภายในประเทศก่อน เช่น ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบท แก้ไขปัญหาการถือชนชั้นวรรณะในอินเดีย ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาฮินดูกับมุสลิม ปัญหาความไม่เสมอภาคของสตรี และปัญหาต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการกดขี่จากต่างประเทศ
[แก้] ประท้วง
- ค.ศ. 1930 คานธีหวนกลับสู่สังเวียนการเมืองอันเร่าร้อน เพราะต้องการประท้วงกฎหมายอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง เป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่จะไม่ให้คนอินเดียใช้ทรัพยากรของอินเดีย โดยในวันที่ 12 มีนาคม คานธีได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคนที่เต็มใจไปกับคานธี คานธีเดินทางเป็นเวลา 24 วัน 400 กิโลเมตร ก็ไปถึงชายทะเล คานธีบอกประชาชนนับแสนให้ร่วมกันทำเกลือกินเอง ดังนั้น ในวันนั้น คานธีและประชาชนนับแสนได้ทำเกลือจากทะเลกินเอง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่อังกฤษตั้งไว้
เมื่อคานธีกลับอินเดีย ก็ถูกจับอีก และก็ถูกปล่อยตัวอีก และหลังถูกปล่อย ก็ใช้เวลาไปพัฒนาชนบทอีก จนเมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กลับเข้าสู่วงการเมืองอีก มีการเดินขบวนรณรงค์ แล้วก็ถูกจับใน ค.ศ. 1942 อีก แต่ครั้งนี้ ระหว่างอยู่ในคุก กัสตูรบา ภรรยาคานธีได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1944 แล้วสักพักก็ถูกปล่อยตัว
- ค.ศ. 1945 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศจะให้อินเดียได้ปกครองตนเอง นับเป็นการที่อิสระของอินเดียอยู่แค่เอื้อมแล้ว แต่ว่า ก่อนจะให้อิสระอินเดีย อังกฤษต้องหารัฐบาลชาวอินเดีย ที่จะปกครองอินเดียต่อจากอังกฤษในช่วงแรกๆของการมีอิสระครั้งของอินเดียในยุคแห่งเทคโนโลยี แต่ทว่า ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรส (ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะมาปกครอง การให้อิสระอินเดียจึงต้องล่าช้าออกไป
[แก้] ความขัดแย้ง
- ค.ศ. 1946 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูในอินเดีย จนเกิดเป็นเหตุนองเลือดรุนแรงไปทั่วทุกหัวระแหง คานธีรู้สึกเสียใจมาก ที่อิสรภาพของอินเดียอยู่แค่เอื้อม แต่ยังไม่ทันได้อิสรภาพ ชาวอินเดียก็ทะเลาะกันเองเสียนี่ คานธีจึงได้หอบสังขารวัย 77 ปี ลงเดินเท้าไปยังภูมิภาคต่างๆในอินเดีย เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน หยุดทะเลาะกันเสียที ประชาชนอินเดียเห็นคานธีทำเช่นนี้ก็รู้สึกตัว เลิกทะเลาะกัน ทำให้เกิดความสงบสามัคคีในชนบทได้
[แก้] อินเดียเป็นอิสระ
- 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษโดยสมบูรณ์ และในวันนั้น อินเดีย ก็แตกเป็น 2 ประเทศ คืออินเดียของชาวฮินดู กับปากีสถานของมุสลิม แต่ว่า ท้องที่ๆ คนส่วนใหญ่เป็นศาสนาหนึ่ง ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนอีกศาสนาหนึ่งอาศัยอยู่เลย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในอาณาเขตประเทศที่เป็นท้องที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาตรงข้าม ก็ต้องอพยพ กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดีย ก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็นฮินดูในปากีสถาน ก็ต้องอพยพมาอินเดีย ในวันนั้น ทั้งสองประเทศ จัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่คานธีไม่เข้าร่วมพิธีฉลองอิสรภาพ แต่ได้เดินทางไปยังกัลกัตตา เพราะได้ข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังรบสู้กันอยู่ คานธีเดินทางไปถึงที่กัลกัตตา และขอร้อง แต่ไม่เป็นผล จึงประกาศอดอาหารอีก ครั้งนี้ได้ผล มุสลิมและฮินดูในกัลกัตตาเลิกรบกันทันที และให้สัญญาว่าจะไม่มีการรบแบบนี้เกิดอีก คานธีจึงเดินทางกลับเมืองหลวงนิวเดลฮี
- 13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถาน เพื่อสมานฉันท์กับชาวมุสลิม ทั้งๆที่คานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้ง เพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดู
- 18 มกราคม ค.ศ. 1948 องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คำมั่นว่า จะพิทักษ์รักษาชีวิต ทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลิมอย่างเต็มที่ คานธีจึงกลับมากินอาหารอีกครั้ง
[แก้] การเสียชีวิต
วันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในตอนเย็น ขณะที่คานธีอยู่กลางสนามหญ้า กำลังสวดมนต์ไหว้พระตามกิจวัตร ขณะที่คานธีกำลังพูดว่า "เห ราม" แปลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า"นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์กับมุสลิม ได้ยิงปืนใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลง และเมื่อแพทย์ได้มาพบคานธี ก็พบว่า คานธีได้สิ้นลมหายใจแล้วในวัย 78 ปี
ชวนดูหนังไทยทวนกระแส เนื่องในวาระครบรอบสิบปี ‘9/11’
เนื่องในโอกาสครบรอบสิบปีเหตุการณ์ ‘9/11’ หรือเหตุการณ์ที่เครื่องบินสี่ลำถูกไฮแจ็คโดยกลุ่มก่อการร้าย ให้พุ่งเข้าชนตึกแฝดเวิร์ลดเทรด เซ็นเตอร์ และตึกเพนตากอน ในกรุงนิวยอร์ก และวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวกว่า 3,000 ราย และความเสียหายทางวัตถุและจิตใจที่มากมายมหาศาล
สิบปีถัดมา ในเดือนพฤษภาคม 2554 หลังจากทางการสหรัฐทำสงครามก่อการร้ายกลุ่มอัลกออิดะห์ในอัฟกานิสถานอย่างยืดเยื้อยาวนาน เนื่องจากเชื่อว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 9/11 หน่วยกองทัพพิเศษของสหรัฐ ด้วยความสนับสนุนจากซีไอเอ ก็สามารถจับกุมตัว โอซามา บิน ลาเดนได้ พร้อมทั้งสังหารและนำศพเขาไปทิ้งน้ำอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะไม่ได้ส่งผลกับประเทศไทยโดยตรงมากนัก หากแต่ ภาณุ อารี หนึ่งในผู้กำกับสารคดีสั้น “O.B.L” รู้สึกว่า หลังจากที่เหตุการณ์ 9/11 เกิดขึ้น ในฐานะที่ตนเองเป็นมุสลิมและอยู่ในยุคร่วมสมัย กลับทำให้เกิดความสับสนและตั้งคำถามในหลายเรื่อง เช่น หลักคำสอนทางศาสนา ความรุนแรง และอัตลักษณ์ของอิสลาม ซึ่งถูกนำเสนอในสื่อกระแสหลักทั้งไทยและเทศแบบตีขลุมเสมอๆ
“หลังจากเหตุการณ์ 9/11 เกิดขึ้น สำหรับคนทั่วไป เขาอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไร อาจจะรู้สึกว่า เรื่องก่อการร้ายกับอิสลามเหมือนกับจะเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแค่นั้น แต่สำหรับคนมุสลิมจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวเหมือนกับว่า มันได้สร้าง identity (อัตลักษณ์) แบบหนึ่งขึ้นมา หลายคนอาจจะต้องยอมรับกับข้อกล่าวหา หรือว่าทัศนคติที่ถูกมองเปลี่ยนไปว่ามีความรุนแรง... มันเป็นบททดสอบของมุสลิมหลายๆ คน” ภาณุกล่าว
ภาณุกล่าวว่า ทุกวันนี้ เสียงของมุสลิมสายฮาร์ดไลน์ เช่น โอซามา บิน ลาเดน มักจะมีเสียงที่ดังมาก พูดเมื่อใดก็ส่งผลกระเทือนไปทั่วโลก เช่นเดียวกับมุสลิมสายที่ต่อต้านบิน ลาเดน อย่างไรก็ตาม มุสลิมสายกลาง กลับไม่ค่อยมีพื้นที่ให้แสดงออกหรือเสียงที่ดังเท่าไร เขาจึงอยากให้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่แสดงตัวตนและความคิดของชาวมุสลิมในอีกด้านที่สังคมอาจไม่ค่อยได้รับรู้มากนัก
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “O.B.L” เป็นผลงานกำกับโดยสามผู้กำกับรุ่นใหม่ ภาณุ อารี, ก้อง ฤทธิ์ดี และ กวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์ ที่มีผลงานสารคดีมาแล้วอย่าง “Baby Arabia” ซึ่งสะท้อนผ่านสายตาตัวตนมุสลิมในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจ
ภาณุกล่าวถึงจุดประสงค์ของการทำหนังครั้งนี้ว่า อยากให้เป็นเหมือนหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ไม่ลืมเหตุการณ์ดังกล่าว และในขณะเดียวกันก็สามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อก้าวไปข้างหน้า และหาทางป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อีก
“อยากให้หนังเรื่องนี้ เป็นหมายเหตุให้เราได้สะดุดและหยุดคิดถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ และศึกษามัน” ภาณุกล่าวส่งท้าย
สิบปีถัดมา ในเดือนพฤษภาคม 2554 หลังจากทางการสหรัฐทำสงครามก่อการร้ายกลุ่มอัลกออิดะห์ในอัฟกานิสถานอย่างยืดเยื้อยาวนาน เนื่องจากเชื่อว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 9/11 หน่วยกองทัพพิเศษของสหรัฐ ด้วยความสนับสนุนจากซีไอเอ ก็สามารถจับกุมตัว โอซามา บิน ลาเดนได้ พร้อมทั้งสังหารและนำศพเขาไปทิ้งน้ำอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะไม่ได้ส่งผลกับประเทศไทยโดยตรงมากนัก หากแต่ ภาณุ อารี หนึ่งในผู้กำกับสารคดีสั้น “O.B.L” รู้สึกว่า หลังจากที่เหตุการณ์ 9/11 เกิดขึ้น ในฐานะที่ตนเองเป็นมุสลิมและอยู่ในยุคร่วมสมัย กลับทำให้เกิดความสับสนและตั้งคำถามในหลายเรื่อง เช่น หลักคำสอนทางศาสนา ความรุนแรง และอัตลักษณ์ของอิสลาม ซึ่งถูกนำเสนอในสื่อกระแสหลักทั้งไทยและเทศแบบตีขลุมเสมอๆ
“หลังจากเหตุการณ์ 9/11 เกิดขึ้น สำหรับคนทั่วไป เขาอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไร อาจจะรู้สึกว่า เรื่องก่อการร้ายกับอิสลามเหมือนกับจะเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแค่นั้น แต่สำหรับคนมุสลิมจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวเหมือนกับว่า มันได้สร้าง identity (อัตลักษณ์) แบบหนึ่งขึ้นมา หลายคนอาจจะต้องยอมรับกับข้อกล่าวหา หรือว่าทัศนคติที่ถูกมองเปลี่ยนไปว่ามีความรุนแรง... มันเป็นบททดสอบของมุสลิมหลายๆ คน” ภาณุกล่าว
ภาณุกล่าวว่า ทุกวันนี้ เสียงของมุสลิมสายฮาร์ดไลน์ เช่น โอซามา บิน ลาเดน มักจะมีเสียงที่ดังมาก พูดเมื่อใดก็ส่งผลกระเทือนไปทั่วโลก เช่นเดียวกับมุสลิมสายที่ต่อต้านบิน ลาเดน อย่างไรก็ตาม มุสลิมสายกลาง กลับไม่ค่อยมีพื้นที่ให้แสดงออกหรือเสียงที่ดังเท่าไร เขาจึงอยากให้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่แสดงตัวตนและความคิดของชาวมุสลิมในอีกด้านที่สังคมอาจไม่ค่อยได้รับรู้มากนัก
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “O.B.L” เป็นผลงานกำกับโดยสามผู้กำกับรุ่นใหม่ ภาณุ อารี, ก้อง ฤทธิ์ดี และ กวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์ ที่มีผลงานสารคดีมาแล้วอย่าง “Baby Arabia” ซึ่งสะท้อนผ่านสายตาตัวตนมุสลิมในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจ
ภาณุกล่าวถึงจุดประสงค์ของการทำหนังครั้งนี้ว่า อยากให้เป็นเหมือนหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ไม่ลืมเหตุการณ์ดังกล่าว และในขณะเดียวกันก็สามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อก้าวไปข้างหน้า และหาทางป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อีก
“อยากให้หนังเรื่องนี้ เป็นหมายเหตุให้เราได้สะดุดและหยุดคิดถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ และศึกษามัน” ภาณุกล่าวส่งท้าย
คนประจวบฯ ยันค้าน “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ไม่เอา “พลังงานทดแทน” หมกเม็ด
ความขัดแย้งรอบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากกรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมจัดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิต 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ อ.ทับสะแก แม้ขณะนี้โครงการดังกล่าวยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ แต่การที่ กฟผ.ได้จัดซื้อที่ดิน 4,142 ไร่ไว้แล้ว ได้ปลุกกระแสการต่อต้านจากกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่รวมทั้งชาวบ้าน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่เคยร่วมกันคัดค้านโรงไฟฟ้าบ้านกรูด-บ่อนอก ขึ้นมาอีกครั้ง
วันที่ 11 ก.ย.54 เวทีรับฟังความคิดเห็น “ทางเลือกการจัดการพลังงาน: กรณีอำเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์” โดย สถาบันการศึกษาทางเลือก ร่วมกับ มูลนิธิไฮริคเบิลล์ ที่ศาลาประชาคม อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเปิดรับฟังข้อมูลและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยมีชาวบ้านทั้งจาก อ.ทับสะแก อ.บ้านกรูด อ.บ่อนอก อ.บางสะพาน ข้าราชการ และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น สนใจเข้าร่วมกว่า 800 คน
เผยเป้าหมายร่วม “แผนพัฒนาประจวบฯ” ไม่มีอุตสาหกรรมเหล็ก
น.ส.สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้จังหวัดประจวบฯ มีแผนพัฒนาจังหวัด 2555-2558 ที่ว่า “ท่องเที่ยวอย่างมีคุณค่า สับปะรดและมะพร้าวเป็นที่หนึ่งของโลก และสังคมแห่งมิตรไมตรี” โดยเป็นจุดหมายร่วมของชาวบ้านกับส่วนราชการที่จะมีการนำมาใช้ในปีหน้า คาดว่าจะทำให้พื้นที่มีความสงบสุข โดยเน้นการใช้เศรษฐกิจ 3 ขา ประกอบด้วย การเกษตร การทำประมง และการท่องเที่ยว เนื่องจากจังหวัดประจวบฯ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งเป็นแหล่งวางไข่ปลาทู มีฉลามวาฬมาหากินห่างชายฝั่งบ้านกูดและทับสะแกเพียง 25 เมตร อีกทั้งยังมีการสำรวจพบว่าชายหาดทับสะแกเป็นที่แรกที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ริมชายฝั่ง
ส่วนในภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขปี 2550 อุตสาหกรรมเหล็กทำรายได้เข้าสู่จังหวัดกว่า 6,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78 ของรายได้ในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 8,000 กว่าล้านบาท แต่รายได้ดังกล่าวกระจุกตัวอยู่เฉพาะในอุตสาหกรรมเหล็ก และขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กใช้เงินลงทุนถึง 23,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อย 76 ของสัดส่วนเงินลงทุนในจังหวัด แต่มีการจ้างงานเพียง 2,600 คน ในขณะที่การจ้างงานในจังหวัดประจวบอีกกว่า 125,000 คนอยู่ในภาคการผลิตอื่นๆ
น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวต่อมาถึงการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ว่า อุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าสิ้นเปลือง โดยใช้พลังงานถึงร้อยละ 33.1 ของผลผลิต ขณะที่อุตสาหกรรมผลไม้กระป๋องใช้พลังงานร้อยละ 7.4 ของผลผลิต อีกทั้งมีข้อมูลระบุด้วยว่า เครือสหวิริยาเจ้าของโครงการโรงถลุงเหล็กบางสะพานได้เคยแสดงความจำนงใช้ไฟฟ้าถึง 2,000 เมกะวัตต์ ต่อกระทรวงพลังงาน ทำให้ถูกนำไปอ้างเป็นเหตุผลความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและเกิดการผลักดันการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
สำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดประจวบฯ น.ส.สุรีรัตน์ ให้ข้อมูลว่า อ.ทับสะแกใช้ไฟฟ้าเพียง 5 เมกะวัตต์ ส่วนอำเภอที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุด คือ อ.บางสะพาน อ.สามร้อยยอด และ อ.บางสะพานน้อยตามลำดับ โดยกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดคืออุตสาหกรรมและธุรกิจ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชาวบ้านไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าในประจวบฯ แต่กลับมีแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 3 แห่ง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 1 แห่งในพื้นที่
“เราจะรอดจากมลพิษได้อย่างไร เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินถูกระบุว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดมลพิษมากทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว พร้อมย้ำว่า ในโลกนี้ไม่มีถ่านหินสะอาด เพราะไม่ว่าถ่านหินลิกไนต์ หรือถ่านหินบิทูบินัส ต่างก็มีมลพิษเหมือนกัน เพียงแต่ให้ความร้อนต่างกันเท่านั้น
ข้องใจ ที่ 4,142 ไร่ ไม่สร้างโรงไฟฟ้า แต่ไม่แจงการใช้ประโยชน์
สุรีรัตน์ กล่าวถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทับสะแกว่า ขณะนี้มีการจัดซื้อที่ดินไว้แล้ว 4,142 ไร่ แต่ทาง กฟผ.กลับให้ข้อมูลกับทางจังหวัดและหน่วยราชการว่ายังไม่มีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่โดยระบุว่าไม่มีการบรรจุไว้ในแผน PDP และล่าสุด กฟผ.มีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ 250 ไร่ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยไม่มีการชี้แจงแผนการใช้ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทำให้เกิดคำถามถึงความโปร่งในการดำเนินโครงการดังกล่าว
“โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คือการจัดฉากของ กฟผ.เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน” สุรีรัตน์ กล่าว
ส่วนนางจินตนา แก้วขาว กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ตั้งข้อสังเกตจากข้อมูลในบันทึกความเข้าใจร่วมที่จัดทำโดย กฟผ.ซึ่งส่งถึงแกนนำชาวบ้านว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อให้ กฟผ.สามารถทำการปิดล้อมที่ดินทั้งหมดให้เป็นเขตห้ามเข้า และทำการสำรวจพื้นที่จัดทำโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ จากนั้นจะมีการดำเนินงานมวลชนสัมพันธ์ รวมทั้งทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเต็มรูปแบบของโรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 5 เมกะวัตต์ ไม่จำเป็นต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นางจินตนา กล่าวด้วยว่า หากโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งขึ้นที่ทับสะแกซึ่งอยู่ห่างบ้านกูดทางถนนเพียง 12 กิโลเมตร และทางชายหาดเพียง 9 กิโลเมตร การขนลำเลียงถ่านหิน การชักน้ำเข้าหล่อเย็นในโรงไฟฟ้า หรือกิจกรรมต่างๆ ของโรงไฟฟ้าย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงกัน ในวันนี้ประชาชนในพื้นที่มีการกำหนดแล้วว่าจะเดินไปทางไหน และจะร่วมกันคัดค้านโรงไฟฟ้าทั้งที่ทับสะแก บ่อนอก และบ้านกรูด
นอกจากนั้น จินตนายังเสนอต่อที่เวทีรับฟังความคิดเห็นให้ระงับโครงการทับสะแกทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จนกว่าจะมีการทำข้อตกลงว่าที่ดิน 4,142 ไร่ ของ กฟผ.จะถูกนำไปทำอะไรบ้าง ซึ่งชาวบ้านต่างยกมือเห็นด้วย
ชี้ข้ออ้างสร้าง “โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์” มุขเก่า
ด้าน นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีนัยยะที่เกี่ยวพันธ์กัน เพราะจากประสบการณ์ของบ่อนอกกลุ่มทุนก็ใช้วิธีการเดียวกันโดยให้สัมภาษณ์ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่บ่อนอก แต่พื้นที่ที่ใช้เป็นเศษเสี้ยวของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ดังนั้นขอให้ยืนยันให้ กฟผ.เคลียร์ให้ได้ว่าพื้นที่ไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะสร้างอะไร
นางกรณ์อุมา กล่าวด้วยว่า วันนี้ยืนยันว่าไม่มีปัญหากับการสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ตามที่มีการส่งเสริมเรื่องการพัฒนาพลังงานทดแทน เพราะพื้นที่บ่อนอกตอนนี้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1 เมกะวัตต์ ใช้พื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งชาวบ้านยินดีหากการก่อสร้างไม่มีเลศนัย
นอกจากนั้น การเปิดเวทีให้ประชาชนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมต่างหวั่นเกรงว่าหาก กฟผ.ใช้พื้นที่ริมชายหาดทับสะแกเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินจะมีผลกระทบเกิดขึ้นในอนาคตทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการสูญเสียอาชีพ และมีการตั้งข้อสังเกตว่าการสร้างโรงไฟฟ้าเป็นไปเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก
อีกทั้งยังมีการกล่าวว่า การสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอาจไม่จำเป็น เพราะที่ผ่านมาไฟฟ้าในระบบเหลือเกินมาตลอด และกลายเป็นภาระให้ชาวบ้านต้องจ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นในค่าเอฟพี หรือหากจำเป็นต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้า ชาวบ้านขอเลือกโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ที่เป็นพลังงานหมุนเวียน ไม่ต้องแย่งชิงเชื้อเพลิงใต้โลกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
นักวิชาการฯ หนุนเปลี่ยนพื้นที่โรงไฟฟ้า เป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้รวม จ.ประจวบฯ ทั้ง 15 จังหวัด อยู่ที่ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ หากมีการเติบโต ความต้องการอีก 20 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 6,000 เมกะวัตต์ แต่แผนพัฒนาพลังงานตั้งไว้ที่ 12,000 เมกะวัตต์ ซึ่งแน่ชัดว่าตัวเลขนี้เป็นการเพิ่มเพื่อต้องการรองรับอุตสาหกรรมเหล็ก หรืออุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะย้ายจากภาคตะวันออกมาลงที่ภาคใต้ ทั้งนี้ ล่าสุดนักวิชาการและภาคประชาชนในภาคใต้ได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาของภาคใต้ โดยใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก ซึ่งใน จ.ชุมพร และ จ.กระบี่ ได้เริ่มแล้วโดยใช้พลังงานหมุนเวียนมากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้จริงในจังหวัด ทั้งนี้ ตัวเลขพลังงานส่วนที่เกินความต้องการปกติ เป็นสิ่งที่คนใต้ต้องตัดสินใจว่าจะยอมรับการพัฒนานั้นหรือไม่
ส่วนแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะยาว 20 ปี (2554-2573) ดร.เดชรัต มีเป้าจะลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 12,000 เมกะวัตต์ และช่วยให้ประเทศไทยประหยัดงบประมาณได้กว่าหนึ่งล้านล้านบาท เท่ากับว่าสามารถยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง (7,200 เมกะวัตต์) บวกกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง (5,000 เมกะวัตต์) ตามแผนพีดีพี2010 ดังนั้นจึงควรส่งเสริมรัฐบาล กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามแผนดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย
ดร.เดชรัต กล่าวต่อมาถึงข้อห่วงใยต่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ กฟผ.ว่า 1.การก่อสร้างใช้พื้นที่น้อย เพียงร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด 2.พื้นที่ก่อสร้าง 250 ไร่ อยู่ตรงไหนของพื้นที่ 4,124 ไร่ โดยพื้นที่ที่เหลือสามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้สบายโดยเฉพาะหากเป็นที่ติดชายฝั่ง 3.การทำบันทึกข้อตกลงร่วม เพราะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ต้องทำอีไอเอ และที่ผ่านมา กฟผ.มีปัญหาการลงพื้นที่เพื่อทำข้อมูล จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำสู่การทำอีไอเอเต็มรูปแบบสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินได้
ดร.เดชรัต กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอที่จะเปลี่ยนพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ให้เป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน น่าสนใจมาก เพราะมีศักยภาพที่จะจัดการได้ถึง 100 เมกะวัตต์ ยิ่งเมื่อใช้เป็นแหล่งวิจัยจะสามารถพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีเพื่อนำไปพัฒนาในที่อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ได้ทำร่วมกับรีสอร์ทแห่งหนึ่งพบว่า พื้นที่ 50 ไร่ ก็สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงาน และการท่องเที่ยวไปด้วยได้
อย่างไรก็ตาม อยากให้เปลี่ยนเทียบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่กับของ กฟผ.ว่าอะไรที่จะให้ผลตอบแทนแก่สังคมได้มากกว่ากัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าจะทำต่อไป
ดร.เดชรัต เสนอด้วยว่า การตัดสินใจของพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ โดยการใช้อำนาจตามกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่นที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่งในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อป้องกันโครงการที่เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งทำได้ 2 ลักษณะ คือเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการดำเนินโครงการที่เป็นผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
บอร์ด กฟผ.ชี้ต้องตั้งคำถามต้องไปถึงนโยบายรัฐฯ ด้วย
ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (บอร์ด กฟผ.) กล่าวถึงประสบการณ์ว่า ในแง่ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.จะดูแลในแง่นโยบายว่าได้ตามเป้าหมายหรือเปล่า และส่วน กฟผ.เองก็รับลูกนโยบายจากรัฐบาลอีกที ดังนั้น ต้องตั้งคำถามกับรัฐบาลด้วยว่าเห็นดีเห็นงามกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไปกระทบกับวิถีชีวิตหรือเปล่า การคิดต้นทุนค่าไฟฟ้านั้นคิดแต่ค่าถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือคิดค่าสูญเสียวิถีชีวิตของผู้คนร่วมด้วย เรื่องนี้ต้องตั้งคำถามให้ครบวงจร ทั้งกระทรวง และรัฐบาลว่าได้จะชดเชย หลีกเลี่ยงอย่างไร หรือไม่ควรสร้าง
“ส่วนตัวที่มามารับฟังเพราะคิดว่าหลายเรื่องตรงกับที่ส่วนตัวคิด แต่อาจไม่ตรงกับผู้ใหญ่หลายท่าน ส่วนที่ถามว่า กฟผ.รู้ข้อมูลไหม ส่วนตัวเองยังต้องยอมรับว่ารู้เรื่องนี้น้อยมาก เหมือนได้มาเข้าห้องเรียน ต้องรู้ว่าผู้บริหารใกล้ชิดฝ่ายเทคนิคมาก ต้องฟังฝ่ายเทคนิค เรื่องปฏิกิริยาของชาวบ้าน กฟผ.อาจไม่รู้ได้ขนาดนี้”ดร.แลกล่าว
ดร.แล กล่าวด้วยว่า กฟผ.ต้องจับเขาคุยอย่างเปิดอก ในภาษาที่ชาวบ้านคุยรู้เรื่อง ในวันนี้ กฟผ.ต้องคุยกับชาวบ้านให้มากขึ้น เพราะต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่ ในบ้านของชานบ้าน นอกจากนี้ งบประมาณกว่า 800 ล้านบาท สำหรับเพื่อทำดีต่อสังคมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ควรคิดนอกกรอบซึ่งอาจดีกับชาวบ้านมากกว่า เพราะปัจจุบัน กฟผ.คิดแค่ในกรอบของ กฟผ.มากเกินไป
ส่วนข้อเสนอ ดร.แล กล่าวว่า ควรตั้งกรรมการมาพูดคุยกัน เพื่อเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหายุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เข้าที่เข้าทาง เพราะยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นต้นเหตุ ส่วนโรงไฟฟ้าเป็นปลายเหตุ
ยื่นข้อเสนอ นายกฯ ค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน-หนุนพลังงานสะอาด
หลังจากเสร็จสิ้นเวทีการรับฟังความคิดเห็น น.ส.สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก ได้ยื่นข้อเสนอจากเวทีทางเลือกการจัดการพลังงาน กรณีโรงไฟฟ้าทับสะแก ต่อนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อผ่านไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 11 ก.ย.54 เวทีรับฟังความคิดเห็น “ทางเลือกการจัดการพลังงาน: กรณีอำเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์” โดย สถาบันการศึกษาทางเลือก ร่วมกับ มูลนิธิไฮริคเบิลล์ ที่ศาลาประชาคม อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเปิดรับฟังข้อมูลและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยมีชาวบ้านทั้งจาก อ.ทับสะแก อ.บ้านกรูด อ.บ่อนอก อ.บางสะพาน ข้าราชการ และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น สนใจเข้าร่วมกว่า 800 คน
เผยเป้าหมายร่วม “แผนพัฒนาประจวบฯ” ไม่มีอุตสาหกรรมเหล็ก
น.ส.สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้จังหวัดประจวบฯ มีแผนพัฒนาจังหวัด 2555-2558 ที่ว่า “ท่องเที่ยวอย่างมีคุณค่า สับปะรดและมะพร้าวเป็นที่หนึ่งของโลก และสังคมแห่งมิตรไมตรี” โดยเป็นจุดหมายร่วมของชาวบ้านกับส่วนราชการที่จะมีการนำมาใช้ในปีหน้า คาดว่าจะทำให้พื้นที่มีความสงบสุข โดยเน้นการใช้เศรษฐกิจ 3 ขา ประกอบด้วย การเกษตร การทำประมง และการท่องเที่ยว เนื่องจากจังหวัดประจวบฯ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งเป็นแหล่งวางไข่ปลาทู มีฉลามวาฬมาหากินห่างชายฝั่งบ้านกูดและทับสะแกเพียง 25 เมตร อีกทั้งยังมีการสำรวจพบว่าชายหาดทับสะแกเป็นที่แรกที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ริมชายฝั่ง
ส่วนในภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขปี 2550 อุตสาหกรรมเหล็กทำรายได้เข้าสู่จังหวัดกว่า 6,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78 ของรายได้ในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 8,000 กว่าล้านบาท แต่รายได้ดังกล่าวกระจุกตัวอยู่เฉพาะในอุตสาหกรรมเหล็ก และขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กใช้เงินลงทุนถึง 23,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อย 76 ของสัดส่วนเงินลงทุนในจังหวัด แต่มีการจ้างงานเพียง 2,600 คน ในขณะที่การจ้างงานในจังหวัดประจวบอีกกว่า 125,000 คนอยู่ในภาคการผลิตอื่นๆ
น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวต่อมาถึงการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ว่า อุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าสิ้นเปลือง โดยใช้พลังงานถึงร้อยละ 33.1 ของผลผลิต ขณะที่อุตสาหกรรมผลไม้กระป๋องใช้พลังงานร้อยละ 7.4 ของผลผลิต อีกทั้งมีข้อมูลระบุด้วยว่า เครือสหวิริยาเจ้าของโครงการโรงถลุงเหล็กบางสะพานได้เคยแสดงความจำนงใช้ไฟฟ้าถึง 2,000 เมกะวัตต์ ต่อกระทรวงพลังงาน ทำให้ถูกนำไปอ้างเป็นเหตุผลความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและเกิดการผลักดันการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
สำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดประจวบฯ น.ส.สุรีรัตน์ ให้ข้อมูลว่า อ.ทับสะแกใช้ไฟฟ้าเพียง 5 เมกะวัตต์ ส่วนอำเภอที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุด คือ อ.บางสะพาน อ.สามร้อยยอด และ อ.บางสะพานน้อยตามลำดับ โดยกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดคืออุตสาหกรรมและธุรกิจ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชาวบ้านไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าในประจวบฯ แต่กลับมีแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 3 แห่ง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 1 แห่งในพื้นที่
“เราจะรอดจากมลพิษได้อย่างไร เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินถูกระบุว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดมลพิษมากทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว พร้อมย้ำว่า ในโลกนี้ไม่มีถ่านหินสะอาด เพราะไม่ว่าถ่านหินลิกไนต์ หรือถ่านหินบิทูบินัส ต่างก็มีมลพิษเหมือนกัน เพียงแต่ให้ความร้อนต่างกันเท่านั้น
ข้องใจ ที่ 4,142 ไร่ ไม่สร้างโรงไฟฟ้า แต่ไม่แจงการใช้ประโยชน์
สุรีรัตน์ กล่าวถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทับสะแกว่า ขณะนี้มีการจัดซื้อที่ดินไว้แล้ว 4,142 ไร่ แต่ทาง กฟผ.กลับให้ข้อมูลกับทางจังหวัดและหน่วยราชการว่ายังไม่มีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่โดยระบุว่าไม่มีการบรรจุไว้ในแผน PDP และล่าสุด กฟผ.มีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ 250 ไร่ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยไม่มีการชี้แจงแผนการใช้ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทำให้เกิดคำถามถึงความโปร่งในการดำเนินโครงการดังกล่าว
“โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คือการจัดฉากของ กฟผ.เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน” สุรีรัตน์ กล่าว
ส่วนนางจินตนา แก้วขาว กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ตั้งข้อสังเกตจากข้อมูลในบันทึกความเข้าใจร่วมที่จัดทำโดย กฟผ.ซึ่งส่งถึงแกนนำชาวบ้านว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อให้ กฟผ.สามารถทำการปิดล้อมที่ดินทั้งหมดให้เป็นเขตห้ามเข้า และทำการสำรวจพื้นที่จัดทำโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ จากนั้นจะมีการดำเนินงานมวลชนสัมพันธ์ รวมทั้งทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเต็มรูปแบบของโรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 5 เมกะวัตต์ ไม่จำเป็นต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นางจินตนา กล่าวด้วยว่า หากโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งขึ้นที่ทับสะแกซึ่งอยู่ห่างบ้านกูดทางถนนเพียง 12 กิโลเมตร และทางชายหาดเพียง 9 กิโลเมตร การขนลำเลียงถ่านหิน การชักน้ำเข้าหล่อเย็นในโรงไฟฟ้า หรือกิจกรรมต่างๆ ของโรงไฟฟ้าย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงกัน ในวันนี้ประชาชนในพื้นที่มีการกำหนดแล้วว่าจะเดินไปทางไหน และจะร่วมกันคัดค้านโรงไฟฟ้าทั้งที่ทับสะแก บ่อนอก และบ้านกรูด
นอกจากนั้น จินตนายังเสนอต่อที่เวทีรับฟังความคิดเห็นให้ระงับโครงการทับสะแกทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จนกว่าจะมีการทำข้อตกลงว่าที่ดิน 4,142 ไร่ ของ กฟผ.จะถูกนำไปทำอะไรบ้าง ซึ่งชาวบ้านต่างยกมือเห็นด้วย
ชี้ข้ออ้างสร้าง “โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์” มุขเก่า
ด้าน นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีนัยยะที่เกี่ยวพันธ์กัน เพราะจากประสบการณ์ของบ่อนอกกลุ่มทุนก็ใช้วิธีการเดียวกันโดยให้สัมภาษณ์ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่บ่อนอก แต่พื้นที่ที่ใช้เป็นเศษเสี้ยวของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ดังนั้นขอให้ยืนยันให้ กฟผ.เคลียร์ให้ได้ว่าพื้นที่ไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะสร้างอะไร
นางกรณ์อุมา กล่าวด้วยว่า วันนี้ยืนยันว่าไม่มีปัญหากับการสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ตามที่มีการส่งเสริมเรื่องการพัฒนาพลังงานทดแทน เพราะพื้นที่บ่อนอกตอนนี้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1 เมกะวัตต์ ใช้พื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งชาวบ้านยินดีหากการก่อสร้างไม่มีเลศนัย
นอกจากนั้น การเปิดเวทีให้ประชาชนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมต่างหวั่นเกรงว่าหาก กฟผ.ใช้พื้นที่ริมชายหาดทับสะแกเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินจะมีผลกระทบเกิดขึ้นในอนาคตทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการสูญเสียอาชีพ และมีการตั้งข้อสังเกตว่าการสร้างโรงไฟฟ้าเป็นไปเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก
อีกทั้งยังมีการกล่าวว่า การสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอาจไม่จำเป็น เพราะที่ผ่านมาไฟฟ้าในระบบเหลือเกินมาตลอด และกลายเป็นภาระให้ชาวบ้านต้องจ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นในค่าเอฟพี หรือหากจำเป็นต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้า ชาวบ้านขอเลือกโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ที่เป็นพลังงานหมุนเวียน ไม่ต้องแย่งชิงเชื้อเพลิงใต้โลกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
นักวิชาการฯ หนุนเปลี่ยนพื้นที่โรงไฟฟ้า เป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้รวม จ.ประจวบฯ ทั้ง 15 จังหวัด อยู่ที่ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ หากมีการเติบโต ความต้องการอีก 20 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 6,000 เมกะวัตต์ แต่แผนพัฒนาพลังงานตั้งไว้ที่ 12,000 เมกะวัตต์ ซึ่งแน่ชัดว่าตัวเลขนี้เป็นการเพิ่มเพื่อต้องการรองรับอุตสาหกรรมเหล็ก หรืออุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะย้ายจากภาคตะวันออกมาลงที่ภาคใต้ ทั้งนี้ ล่าสุดนักวิชาการและภาคประชาชนในภาคใต้ได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาของภาคใต้ โดยใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก ซึ่งใน จ.ชุมพร และ จ.กระบี่ ได้เริ่มแล้วโดยใช้พลังงานหมุนเวียนมากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้จริงในจังหวัด ทั้งนี้ ตัวเลขพลังงานส่วนที่เกินความต้องการปกติ เป็นสิ่งที่คนใต้ต้องตัดสินใจว่าจะยอมรับการพัฒนานั้นหรือไม่
ส่วนแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะยาว 20 ปี (2554-2573) ดร.เดชรัต มีเป้าจะลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 12,000 เมกะวัตต์ และช่วยให้ประเทศไทยประหยัดงบประมาณได้กว่าหนึ่งล้านล้านบาท เท่ากับว่าสามารถยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง (7,200 เมกะวัตต์) บวกกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง (5,000 เมกะวัตต์) ตามแผนพีดีพี2010 ดังนั้นจึงควรส่งเสริมรัฐบาล กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามแผนดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย
ดร.เดชรัต กล่าวต่อมาถึงข้อห่วงใยต่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ กฟผ.ว่า 1.การก่อสร้างใช้พื้นที่น้อย เพียงร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด 2.พื้นที่ก่อสร้าง 250 ไร่ อยู่ตรงไหนของพื้นที่ 4,124 ไร่ โดยพื้นที่ที่เหลือสามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้สบายโดยเฉพาะหากเป็นที่ติดชายฝั่ง 3.การทำบันทึกข้อตกลงร่วม เพราะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ต้องทำอีไอเอ และที่ผ่านมา กฟผ.มีปัญหาการลงพื้นที่เพื่อทำข้อมูล จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำสู่การทำอีไอเอเต็มรูปแบบสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินได้
ดร.เดชรัต กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอที่จะเปลี่ยนพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ให้เป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน น่าสนใจมาก เพราะมีศักยภาพที่จะจัดการได้ถึง 100 เมกะวัตต์ ยิ่งเมื่อใช้เป็นแหล่งวิจัยจะสามารถพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีเพื่อนำไปพัฒนาในที่อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ได้ทำร่วมกับรีสอร์ทแห่งหนึ่งพบว่า พื้นที่ 50 ไร่ ก็สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงาน และการท่องเที่ยวไปด้วยได้
อย่างไรก็ตาม อยากให้เปลี่ยนเทียบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่กับของ กฟผ.ว่าอะไรที่จะให้ผลตอบแทนแก่สังคมได้มากกว่ากัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าจะทำต่อไป
ดร.เดชรัต เสนอด้วยว่า การตัดสินใจของพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ โดยการใช้อำนาจตามกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่นที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่งในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อป้องกันโครงการที่เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งทำได้ 2 ลักษณะ คือเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการดำเนินโครงการที่เป็นผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
บอร์ด กฟผ.ชี้ต้องตั้งคำถามต้องไปถึงนโยบายรัฐฯ ด้วย
ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (บอร์ด กฟผ.) กล่าวถึงประสบการณ์ว่า ในแง่ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.จะดูแลในแง่นโยบายว่าได้ตามเป้าหมายหรือเปล่า และส่วน กฟผ.เองก็รับลูกนโยบายจากรัฐบาลอีกที ดังนั้น ต้องตั้งคำถามกับรัฐบาลด้วยว่าเห็นดีเห็นงามกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไปกระทบกับวิถีชีวิตหรือเปล่า การคิดต้นทุนค่าไฟฟ้านั้นคิดแต่ค่าถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือคิดค่าสูญเสียวิถีชีวิตของผู้คนร่วมด้วย เรื่องนี้ต้องตั้งคำถามให้ครบวงจร ทั้งกระทรวง และรัฐบาลว่าได้จะชดเชย หลีกเลี่ยงอย่างไร หรือไม่ควรสร้าง
“ส่วนตัวที่มามารับฟังเพราะคิดว่าหลายเรื่องตรงกับที่ส่วนตัวคิด แต่อาจไม่ตรงกับผู้ใหญ่หลายท่าน ส่วนที่ถามว่า กฟผ.รู้ข้อมูลไหม ส่วนตัวเองยังต้องยอมรับว่ารู้เรื่องนี้น้อยมาก เหมือนได้มาเข้าห้องเรียน ต้องรู้ว่าผู้บริหารใกล้ชิดฝ่ายเทคนิคมาก ต้องฟังฝ่ายเทคนิค เรื่องปฏิกิริยาของชาวบ้าน กฟผ.อาจไม่รู้ได้ขนาดนี้”ดร.แลกล่าว
ดร.แล กล่าวด้วยว่า กฟผ.ต้องจับเขาคุยอย่างเปิดอก ในภาษาที่ชาวบ้านคุยรู้เรื่อง ในวันนี้ กฟผ.ต้องคุยกับชาวบ้านให้มากขึ้น เพราะต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่ ในบ้านของชานบ้าน นอกจากนี้ งบประมาณกว่า 800 ล้านบาท สำหรับเพื่อทำดีต่อสังคมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ควรคิดนอกกรอบซึ่งอาจดีกับชาวบ้านมากกว่า เพราะปัจจุบัน กฟผ.คิดแค่ในกรอบของ กฟผ.มากเกินไป
ส่วนข้อเสนอ ดร.แล กล่าวว่า ควรตั้งกรรมการมาพูดคุยกัน เพื่อเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหายุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เข้าที่เข้าทาง เพราะยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นต้นเหตุ ส่วนโรงไฟฟ้าเป็นปลายเหตุ
ยื่นข้อเสนอ นายกฯ ค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน-หนุนพลังงานสะอาด
หลังจากเสร็จสิ้นเวทีการรับฟังความคิดเห็น น.ส.สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก ได้ยื่นข้อเสนอจากเวทีทางเลือกการจัดการพลังงาน กรณีโรงไฟฟ้าทับสะแก ต่อนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อผ่านไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)